กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหา กรณีเกิดโรคระบาด เมื่อเกิดภัยพิบัติในพื้นที่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน

พื้นที่ตำบลท่าหิน ม.1-9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินงานกองทุนประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อขออรับการสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขในการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกัน การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิแบบเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชนในชุมชนหรือท้องถิ่น และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ10(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็นเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ ดังนั้นเพื่อการดำเนินงานมีความสอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนตำบลท่าหิน จะได้รับความเสียหายจากวาตภัย อุทกภัย เนื่องจากพื้นที่ตำบลท่าหิน ติดกับทะเลสาบสงขลา น้ำจะท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ประชาชนจะเป็นโรคที่มาพร้อมกับน้ำ คือโรคน้ำกัดเท้า เป็นอาการทางผิวหนังที่พบบ่อยในช่วงที่เกิดน้ำท่วม เกิดจากการระคายเคืองของโรคผิวหนังบริเวณเท้าที่แช่อยู่ในน้ำที่สกปรกเป็นเวลานาน หรือมีความชื้นที่เท้าอยู่ตลอดเวลาหากปล่อยให้มีการอักเสบอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันโรคหลังเกิดภัยพิบัติ (อุทกภัย) จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหา กรณีเกิดโรคระบาด เมื่อเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ขึ้นเพื่อป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดหลังภัยพิบัติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดหลังภัยพิบัติในพื้นที่ตำบลท่าหิน

ประชาชนในตำบลท่าหินที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติได้รับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค รักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพในระหว่างและหลังสถานการณ์เกิดภัยพิบัติตามความเหมาะสมตามความจำเป็นและเหมาะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่

70.00 90.00
2 เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่ตำบลท่าหิน

ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าหินได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่

70.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,960
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบหลังเกิดภัยพิบัติ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบหลังเกิดภัยพิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินลงพื้นที่สำรวจครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติอุทักภัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้จำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ป้องกันโรคภายหลังการเกิดภัยพิบัติ (น้ำท่วม)

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันโรคภายหลังการเกิดภัยพิบัติ (น้ำท่วม)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ภายหลังจากการสำรวจผู้ได้รับผลกระทบภายหลักเกิดภัยพิบัติ (น้ำท่วม) อาจพบประชาชนเกิดโรคน้ำกัดเท้า และโรคผิวหนังอื่น ๆ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผิวหนังติดเชื้อภายหลังจากการเป็นโรคน้ำกัดเท้า มีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. จัดซื้อเวชภัณฑ์สำหรับโรคน้ำกัดเท้าและโรคอื่นที่เกิดจากภัยพิบัติ (น้ำท่วม) จำนวน 1,000 ตลับ/หลอด ๆละ 30 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในตำบลท่าหินที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติได้รับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค รักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสรรถภาพตามความจำเป็นและเหมาะสม
2.ประชาชนตำบลท่าหินได้รับการช่วยเหลือได้ทันท่วงที


>