กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนการบริโภค ลดความเสี่ยง เลี่ยงไตวาย ประจำปี พ.ศ.2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ลำใหม่

ณ ห้องประชุม อบต.ลำใหม่ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์โรคไตกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในระดับทั่วโลกในรอบ 10ปีที่ผ่านมา ข้อมูลในทางสถิติในประเทศไทยพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้ 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนไข้ระยะ 3-4 ที่ใกล้จะต้อง “ล้างไต” หรือระยะที่ 5ซึ่งในแต่ละปีมีคนไข้ที่ต้องล้างไตรายใหม่ประมาณ 7,000-8,000 รายปัจจุบันมีคนไข้ที่ต้องล้างไตประมาณ 50,000 รายและจากข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน2560มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทั้งสิ้น 39,411 รายแยกเป็นผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้อง จำนวน 20,993 รายผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำนวน 13,503 รายซึ่งจากข้อมูลผู้ป่วย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พบว่าสาเหตุหลักของไตวายเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ได้แก่โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรวมกันมากกว่าครึ่งซึ่งเป็นผลจากการรับประทานอาหารรสหวานหรือเค็มจัด และไม่ออกกำลังกาย ทำให้น้ำหนักตัวเกิน โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นโรคที่สร้างผลกระทบให้กับผู้ป่วยและครอบครัวอย่างมาก ไม่เพียงแต่กระทบต่อสุขภาพ แต่ยังกระทบต่อความมั่นคงของครอบครัวและเป็นภาระค่าใช้จ่ายของประเทศจากข้อมูลของประชาชนในตำบลลำใหม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคไต จำนวน 1,692 คน พบว่า มีประชาชนกลุ่มเสี่ยง (ที่ตรวจแล้วเป็นโรคความดัน)จำนวน 340 คน กลุ่มสงสัย 285 คน และกลุ่มที่ต้องสั่งพบแพทย์จำนวน22 คน และมีประชาชนป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวน286 คนและป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน644 คนซึ่งจากการป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงนี้ ก็จะนำไปสู่การเป็นโรคไตขึ้นได้ จากการสอบถามประชาชน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการทานอาหารรสหวานหรือเค็มจัดโดยเฉพาะในพื้นที่ของชุมชนหรือตลาดนัดตำบลลำใหม่ มักจะขายอาหารหลากหลายประเภทได้แก่ อาหารประเภทยำกล้วยทอดลูกชิ้นทอดข้าวเหนียวไก่ทอด ข้าวยำน้ำชา โรตี กาแฟ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ก็มักจะซื้ออาหารเหล่านี้มารับประทาน โดยไม่รู้ว่ามีส่วนผสมของเกลือ น้ำปลา และน้ำตาลในปริมาณที่สูงและนอกจากอาหารประเภทที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนยังชอบการรับประทานขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ อาหารฟาสต์ฟู๊ด ที่มีเกลือในปริมาณสูง อาหารที่มีรสจัด ทั้งหวาน มัน เค็ม หรือพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีการเติมรสเค็มในทุกมื้ออาหารมากเกินไปล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงส่งผลให้เกิดภาวะโรคไตได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จากสถิติการตรวจคัดกรองโรคไตของประชาชนตำบลลำใหม่จึงเห็นควรนำเอากลุ่มเสี่ยงที่ตรวจแล้วเป็นโรคความดัน เป็นกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากการเป็นโรคความดันจะนำไปสู่การเป็นโรคไตซึ่งจากข้อมูลจะเห็นว่ามีประชาชนป่วยเป็นโรคความดันจำนวนมากจึงต้องป้องกันการเป็นโรคไตให้กับกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคความดัน เพื่อควบคุมและลดอัตราการป่วยที่อาจจะป่วยเป็นโรคไตขึ้นมากกว่านี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลลำใหม่ และผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับโรคไต

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงความรู้ความเข้าใจเรื่องไตจากการอบรม ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลลำใหม่ และผู้เข้ารับการอบรม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคเพื่อลดการเกิดโรคไต

ประชาชนปกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการอบรม มีพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 16
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 09/05/2024

กำหนดเสร็จ : 09/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-วัดความดันในคนที่มีกลุ่มเสี่ยง -ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2567 ถึง 9 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน อสม. และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น มีความตระหนักรู้ ต่อความเสี่ยงจากพฤติกรรมการบริโภคเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจ้างทำป้ายไวนิลโครงการฯขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน1,050 บาท 2.ค่าจ้างทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงและการป้องกันโรคไต จำนวน 100 แผ่น ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน2,000 บาท 3.ค่าอาหารมื้อกลางวันพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม/วิทยากร/เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 81 คน ๆ ละ 60 บาท จำนวน1 มื้อ เป็นเงิน 4,860 บาท 4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม/วิทยากร/เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 81 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,860 บาท 5.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 6. ค่ากระเป๋า จำนวน 76 ใบ ๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 4,180 บาท 7. ค่าวัสดุเครื่องเขียน ประกอบด้วย -สมุดจดบันทึก จำนวน76 เล่ม ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,520 บาท -ปากกาน้ำเงิน จำนวน 76 ด้าม ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน380 บาท 8. ค่าวัสดุอาหารสำหรับการสาธิต เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2567 ถึง 9 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอสม. และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ได้รับความรู้จากการอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลลำใหม่ และผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับโรคไต
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลลำใหม่ และผู้เข้ารับการอบรมมีการปรับเปลี่ยนการบริโภคในการดำเนินชีวิตเพื่อลดเสี่ยงจากโรคไต
3. อัตราการเป็นโรคไตของประชาชนในตำบลลำใหม่ลดลง


>