กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเรียนสนุกสุขใจ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลศรีบรรพต อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

1.นางสาวกัญญา พรหมมาณพ
2.นายขรรค์ชัย จันรอดภัย
3.นางสาวสุนิสา บุญมาก

โรงเรียนบ้านเขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

ภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะเจ็บป่วยที่มีความสำคัญและส่งผลต่อการสูญเสียทั่วโลก องค์การอนามัยโลกสำรวจสถานการณ์สุขภาพจิตใน 17 ประเทศ และประมาณการว่า 350 ล้านคนทั่วโลก หรือเทียบเท่ากับ 1 ใน 20 คน กำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้าในปีที่ผ่านมา โดยในวัยรุ่นมีรายงานว่า 1 ใน 4 ของวัยรุ่น มีปัญหาด้านสุขภาพจิต และอารมณ์ และในประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อย่างไรก็ตาม กลุ่มวัยรุ่น ยังเป็นกลุ่มที่เข้าถึงบริการน้อยมาก ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า เช่น ปัญหาการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย การทำร้ายตัวเอง การกลั่นแกล้ง (Bullying)การใช้ความรุนแรงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้วัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าอาจมีอาการแสดงที่ไม่ชัดเจนเหมือนในผู้ใหญ่ เช่น แสดงออกด้วยพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง การทำร้ายตัวเองหรือคนอื่น หรือแสดงออกเป็นพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ใช้สารเสพติด พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้แล้ววัยรุ่นมีความเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม ครอบครัวและเศรษฐกิจ ทำให้เป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ส่งผลให้มีความเครียด วิตกกังวล ทำให้เกิดความท้อแท้สิ้นหวังเบื่อหน่าย ความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเองลดลง มีภาวะซึมเศร้า ปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางบุคลิกภาพ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิด การเรียน การตัดสินใจ และการนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตายซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของวัยรุ่นในประเทศไทย มีผู้ป่วยวัยรุ่นมารับบริการที่ โรงพยาบาลศรีบรรพต ด้วยโรคซึมเศร้า ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 33 คน เป็นผู้ป่วยในตำบลเขาปู่ จำนวน 11 คนตำบลเขาย่า 16 คน และตำบลตะแพน 6 คน ในกลุ่มผู้ป่วยวัยรุ่นนี้มีผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย จำนวน 13 คน มีความคิดฆ่าตัวตาย 11 คน และในปี 2566 มีวัยรุ่นฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ดังนั้นกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลศรีบรรพต เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ โครงการเรียนสนุกสุขใจ ปีงบประมาณ 2567 ในนักเรียน ม.1-3 โรงเรียนบ้านเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง เพื่อเป็นการค้นหานักเรียน ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้เข้าถึงบริการรวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพจิตให้นักเรียนมีความเข้มแข็งทางจิตใจ สามารถเรียนหนังสืออย่างมีความสุข ใช้ชีวิตในโรงเรียนรวมถึงชุมชนและสังคมอย่างปกติสุขตามศักยภาพต่อไป

0.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้า

นักเรียนผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00 0.00
2 เพื่อให้นักเรียนผู้เข้าอบรมมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

นักเรียนผู้เข้าอบรมมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนผู้เข้ารับการอบรมที่ประเมินแล้วป่วยโรคซึมเศร้าได้เข้ารับบริการ

นักเรียนผู้เข้ารับการอบรมที่ประเมินแล้วป่วยโรคซึมเศร้าได้เข้ารับบริการ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 โรงเรียนบ้านเขาปู่ 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้ประเมินภาวะซึมเศร้า ทดสอบก่อนและหลังอบรม
  • งบประมาณ ค่าสมณาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน1,800 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ25 บาทเป็นเงิน1,500 บาท
    ค่าวัสดุอุปกรณ์และเอกสารในการอบรมจำนวน 2,000 บาท
    รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น5,300 บาทสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนเข้ารับการอบรมตามโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 / นักเรียนผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้านักเรียนผู้เข้าอบรมมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองนักเรียนผู้เข้ารับการอบรมที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยโรคซึมเศร้าได้เข้าถึงบริการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
2. นักเรียนผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้เรื่องการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพจิตเพื่อป้องกันการเป็นโรคซึมเศร้า
3. นักเรียนผู้เข้ารับการอบรมทีมีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้เข้ารับบริการ


>