กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตำบลควนสตอ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เด็กที่มีภาวะสุขภาพที่ดีถือเป็นรากฐานแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี และพร้อมที่จะเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและเป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติในอนาคต เด็กทุกคนจึงสมควรและจำเป็นที่จะต้องได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสมในทุกๆด้าน เพื่อให้เด็กมีความสามารถในการสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆได้อย่างเต็มที่ ที่สำคัญ คือ เด็กต้องการเรียนรู้จากบิดามารดา สังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ อุปนิสัยและพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ ๖ ปี ถือได้ว่าเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกๆด้านของมนุษย์ ทั้งนี้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทย โดยส่งเสริมให้ บิดา มารดา และผู้ปกครองเด็ก สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย ๖ เดือน รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน ช่วยเหลือกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนอื่น ๆ ด้วยการรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน และสนับสนุนให้ครอบครัวมีความอบอุ่นจากการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นให้ทุกคนมีความตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความมั่นคง เพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี โดยเริ่มต้นจากครอบครัวให้ลูกได้ดื่มนมแม่ เพราะน้ำนมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุด สำหรับทารกแรกเกิด โดยมีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของทารก เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในขวบปีแรกจะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ร่วมกับการพัฒนาทางด้านอารมณ์ เด็กจะมีความสุข มั่นใจในสิ่งแวดล้อม นำไปสู่ความรู้สึกไว้วางใจในบุคคล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยต่อไป สถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย จากรายงานการสำรวจสถานะสุขภาพเด็กไทยในปี ๒๕๖๕ โดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ ด้วยการสนับสนุนขององค์การองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ UNICEF เรื่อง การกินนมแม่ของทารกตามช่วงอายุ ของประเทศไทย ๒๕๖๕ พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงอายุ ๐-๑ , ๓ และ ๖ เดือนอยู่ที่ร้อยละ ๓๐, ๑๕ และ ๑๒.๓ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปี ๒๕๖๔ ในช่วงอายุเดียวกัน อยู่ที่ร้อยละ ๑๑.๖, ๗.๖ และ ๕.๔ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง ภาพรวมของทารกที่ได้รับนมแม่ ในช่วงอายุ ๖-๗ เดือนแรกยังอยู่ในระดับที่ดี คือ ร้อยละ ๕๕ และข้อมูลปี ๒๕๖๕ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย Exclusive breast feeding ๐-๖ month ร้อยละ ๒๓.๑ breast feeding to ๑ year ร้อยละ ๓๓.๓ , breast feeding to ๒ year ร้อยละ ๑๕.๖ และผลการดำเนินงานมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลควนโดน พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน ในปี ๒๕๖๒ -๒๕๖๕ อยู่ร้อยละ ๒๒.๕ ๒๓.๘ ๓๒.๒ และร้อยละ ๓๗.๖ ตามลำดับ ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมายอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในทารกอายุน้อยกว่า ๖ เดือน ของกรมอนามัยในปี ๒๕๖๕ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๕๐ ทั้งนี้เป็นเพราะการให้น้ำเปล่าหรืออาหารอื่นๆร่วมกับนมแม่เป็นพฤติกรรมของการเลี้ยงดูเด็กที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การสร้างความเชื่อว่านมแม่อย่างเดียว ๖ เดือนเพียงพอสำหรับทารก จำเป็นที่จะต้องหาวิธีการสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มต่างๆมากขึ้น รวมทั้งความร่วมมือจากบุคลาการทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกระดับที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นบรรลุตามเป้าหมาย จึงมีแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพ และสมรรถนะในการดูแลคุณภาพสุขภาพประชากรแม่และเด็กสู่ความยั่งยืน ในเขตสุขภาพที่ ๑๒ โดยการพัฒนาการดำเนินงานตามกระบวนการคุณภาพ การจัดระบบบริการมาตรฐานงานอนามัยและเด็กในพื้นที่ตามมาตรฐาน เชื่อมโยงสู่ครัวเรือน ชุมชน และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทางโรงพยาบาลควนโดน ได้จัดทำ โครงการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปี 2566 ขึ้น เพื่อให้แกนนำในชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจ มีความพร้อมในการพัฒนาและขับเคลื่อนทางสังคม ในการส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้เป็นรากฐานการพัฒนาในโรงพยาบาลควนโดน ตลอดจนประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และศักยภาพแกนนำประชาชน.และผู้ที่เกี่ยวข้องในการปกป้อง ส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2.เพื่อพัฒนาระบบบริการอนามัยแม่และเด็กที่ได้มาตรฐานควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 3.เพื่อขับเคลื่อนสู่องค์กรต้นแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1.  เด็กแรกเกิด - ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ร้อยละ 50

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 แกนนำ เชี่ยวชาญด้านนมแม่ 1. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ แกนนำประชาชน จำนวน 30 คน
- ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - บันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กและ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง - การให้อาหารทารกและเด็กเล็ก - ทำอย่างไรให้นมแม่เพียงพอถึง 6 เดือน - การนวดกระตุ้นเต้านม - สมุนไพรบำรุงน้ำนมแม่     - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม สำหรับอบรม 30 คน x 60 บาท x 1 มื้อ                                              เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอบรม
30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ
                                            เป็นเงิน  1,800 บาท - ค่าวิทยากร 400 บาท x 6 ชั่งโมง X 1 วัน                                             เป็นเงิน  2,400 บาท - ค่าวัสดุในการอบรม (สาธิตนมแม่ เครื่องปั้มนม ถุงเก็บน้ำนมแม่ หมอนรองให้นมแม่)                                   เป็นเงิน  6,000 บาท - ค่าวัสดุในการอบรมสมุนไพรบำรุงน้ำนมแม่ (ลูกประคบ,สมุนไพรต่างๆ )                         เป็นเงิน  3,500 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารอบรม/คู่มือ          เป็นเงิน  2,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์สำนักงาน                 เป็นเงิน  2,120 บาท - โฟมปอร์ดความรู้เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกนมแม่, พรบ. นมผง , สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ จำนวน 5 ป้ายๆละ 700 บาท                                เป็นเงิน  3,500 บาท     1 เมษายน 2567 -  30 ก.ย. 2567                                                            รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  23,120 บาท                                                                                    (สองหมื่นสามพันหนึ่งร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมที่ 1 แกนนำ เชี่ยวชาญด้านนมแม่ 1. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ แกนนำประชาชน จำนวน 30 คน
- ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - บันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กและ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง - การให้อาหารทารกและเด็กเล็ก - ทำอย่างไรให้นมแม่เพียงพอถึง 6 เดือน - การนวดกระตุ้นเต้านม - สมุนไพรบำรุงน้ำนมแม่     - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม สำหรับอบรม 30 คน x 60 บาท x 1 มื้อ                                              เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอบรม
30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ
                                            เป็นเงิน  1,800 บาท - ค่าวิทยากร 400 บาท x 6 ชั่งโมง X 1 วัน                                             เป็นเงิน  2,400 บาท - ค่าวัสดุในการอบรม (สาธิตนมแม่ เครื่องปั้มนม ถุงเก็บน้ำนมแม่ หมอนรองให้นมแม่)                                   เป็นเงิน  6,000 บาท - ค่าวัสดุในการอบรมสมุนไพรบำรุงน้ำนมแม่ (ลูกประคบ,สมุนไพรต่างๆ )                         เป็นเงิน  3,500 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารอบรม/คู่มือ          เป็นเงิน  2,000 บาท
- ค่าอุปกรณ์สำนักงาน                 เป็นเงิน  2,120 บาท - โฟมปอร์ดความรู้เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกนมแม่, พรบ. นมผง , สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ จำนวน 5 ป้ายๆละ 700 บาท                                เป็นเงิน  3,500 บาท     1 เมษายน 2567 -  30 ก.ย. 2567                                                            รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  23,120 บาท                                                                                    (สองหมื่นสามพันหนึ่งร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23120.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,120.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ
๑. เกิดระบบการดำเนินงาน การปกป้อง ส่งเสริม สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการควบคุม เฝ้าระวังการละเมิด พรบ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.๒๕๖๐
๒. แกนนำและประชาชน มีความรู้ สมรรถนะ และทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และ ส่งเสริมการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
๓. เป็นองค์กรต้นแบบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และโรงพยาบาลปลอดนมผง


>