กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมผักเบี้ย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกชิคุนกุนยา ในปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมผักเบี้ย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมผักเบี้ย

นายองค์การ นิลเขียว

ตำบลแหลมผักเบี้ย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ทั้งหมด 4 หมู่บ้าน บ้านที่พบผู้ป่วยและบ้านในรัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วย ยอดผู้ป่วย 5 ปี ปี 62 = 10 ราย ปี 63 = 21 ราย ปี 64 = 0 ราย ปี 65 = 2 ราย ปี 66 = 8 ราย ไข้เลือดออก 28 ราย โรคชิคุนกุนยา 13 ราย รวมทั้งสิ้น 41 ราย

 

70.00

โรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาเป็นโรคติดต่อ ที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค โดยนำเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ ในการป้องกันมิให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา จำเป็นต้องป้องกันการเกิดโรคกล่าวคือ
1) การป้องกันที่แหล่งโรค โดยต้องดำเนินการป้องกันคนปกติไม่ให้ยุงมีเชื้อกัด และป้องกันผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาถูกยุงลายกัด อันจะส่งผลให้ยุงที่กัดเป็นยุงมีเชื้อ พร้อมที่จะถ่ายทอดไปสู่ผู้ไม่ป่วย นอกจากนั้นก็ควรที่จะมีการป้องกันที่พาหะนำโรค
2) การป้องกันที่การถ่ายทอดโรค โดยจะต้องกำหนดให้มีมาตรการที่ทำให้ไม่มียุงลาย อันได้แก่การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ การกำจัดลูกน้ำและกำจัดยุงลาย
3) การป้องกันที่คนในคนที่มีความไวต่อการรับเชื้อ ซึ่งได้แก่ การป้องกันกลุ่มเสี่ยงไม่ให้ถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด การใช้วัคซีนและการจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องเร็วที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคและการตาย

ฉะนั้นการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา จึงจำเป็นต้องอาศัยกลวิธีหรือกิจกรรมในหลายรูปแบบ อาทิเช่น ควบคุมทางกายภาพ ชีวภาพ การใช้สารเคมี วิธีภูมิปัญญาชาวบ้าน ตลอดจนการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้แก่ชาวบ้าน อย่างต่อเนื่องทันเหตุการณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมผักเบี้ย จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ ในการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังข้างต้น เพื่อรณรงค์ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาของตำบล จึงได้จัดทำโครงการฯดังกล่าว ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันคิดร่วมกันทำและมีการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาโดยชุมชนเองอันจะทำให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่องตลอดไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันและคววบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา กรณีพบผู้ป่วยในตำบลแหลมผักเบี้ย

1.เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา กรณีพบผู้ป่วยในตำบลแหลมผักเบี้ย

70.00 1.00
2 2. ลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา กรณีพบผู้ป่วยในตำบลแหลมผักเบี้ย

 

80.00 1.00

2. ลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยากรณีพบผู้ป่วยในตำบลแหลมผักเบี้ย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ในปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ในปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่อบต.แหลมผักเบี้ย
   จำนวน  50,000.-  บาท  (-ห้าหมื่นบาทถ้วน -) รายละเอียด  ดังนี้ 1. ค่าจ้างเหมาในการพ่นหมอกควัน สำหรับควบคุมและป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา  กรณี  มีผู้สงสัยป่วยหรือผู้ป่วย จำนวน 20รายๆละ  3  ครั้งๆละ 200 บาท             เป็นเงิน  12,000  บาท 2. ทรายอะเบท จำนวน 4 ถัง ๆ ละ 3,500 บาท                                     เป็นเงิน  14,000  บาท 3. ค่าน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน                                                         เป็นเงิน  18,000  บาท 4. โลชั่นทาป้องกันกำจัดยุงสำหรับผู้ป่วย จำนวน 200 ซองๆละ 5 บาท             เป็นเงิน  1,000    บาท 5. สเปร์ยพ่นสารเคมีกำจัดยุง ขนาดบรรจุ 600 MLจำนวน 50 ขวดๆละ100 บาทเป็นเงิน  5,000   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาในตำบลแหลมผักเบี้ยได้
    1. ลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ในตำบลแหลมผักเบี้ย 3.ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความร่วมมือในการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรค
                   ชิคุนกุนยา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาในตำบลแหลมผักเบี้ยได้
2. ลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ในตำบลแหลมผักเบี้ย
3.ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความร่วมมือในการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรค
ชิคุนกุนยา


>