กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพเท้าดีชีวีมีสุขในผู้ป่วยเบาหวาน ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

โรงพยาบาลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
การที่ประชากรในปัจจุบันมีอายุที่ยืนยาวขึ้น สภาพความเสื่อมตามวัย ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ร่วมการการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่รสจัด ขนมหวาน ของทอด และการออกกำลังกายที่ลดลง ทำให้ปัญหาของโรคเรื้อรังเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสนใจและความสำคัญเป็นอย่างมาก และหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากคือ โรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญระดับโลกในปัจจุบัน ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2573 จะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 552 ล้านรายทั่วโลกจากปี 2554 ที่มีผู้ป่วยเบาหวาน 366 ล้านราย จากการสำรวจของ international diabetes federation ( IDF ) สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคเบาหวานในปีพ.ศ.2563เป็นจำนวน 5ล้านคนและมีผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน200 รายต่อวัน โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเกี่ยวกับโรคเบาหวานในประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่สูงถึง47,596 ล้านบาทต่อปี
โรคเบาหวาน (Diabetes) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของจำเป็นต้องมีอินซูลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ในภาวะที่อินซูลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินซูลินในร่างกาย หรือการที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง (หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน) จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ ก่อให้เกิดเป็นโรคเบาหวาน และโรคเบาหวานยังมีภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานก่อนให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกายทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ภาวะแทรกซ้อนทางตา(Diabeticretinopathy)ภาวะแทรกซ้อนทางไต(Diabetic nephropathy) ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดสมองและภาวะเท้าเบาหวาน เท้าเบาหวานเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมากและยังเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลของประเทศอีกด้วย เท้าเบาหวานยังมีความสัมพันธ์กับภาวะเส้นเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral arterial disease) และภาวะระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม (Peripheral neuropathy) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่จะนำไปสู่การถูกตัดเท้าหรือขาได้ จากสถิติพบว่าร้อยละ 85 ของผู้ป่วยที่ถูกตัดเท้าหรือขามีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานโดยที่ร้อยละ 70-85 ของการถูกตัดเท้าหรือขานั้นสามารถป้องกันได้จากข้อมูลผู้ป่วยเท้าเบาหวานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพบว่าในปี พ.ศ.2563 มีผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าเกิดขึ้นใหม่จำนวนร้อยละ1.7ต่อประชากรหนึ่งแสนคน และผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกตัดเท้าหรือขาจำนวนร้อยละ0.1ต่อประชากรหนึ่งแสนคนพบว่าความชุกของการเกิดแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานมีประมาณร้อยละ1-20 ผู้ป่วยเบาหวานที่เคยมีแผลที่เท้ามาก่อนจะเพิ่มโอกาสเกิดแผลที่เท้ามากกว่าผู้ที่ไม่เคยมีแผล2.18เท่า ประวัติเคยถูกตัดเท้าหรือขามาก่อนจะเพิ่มโอกาสเกิดแผลที่เท้าสูงกว่าผู้ที่ไม่เคยถูกตัดขา 2.57 เท่า ปัญหาเรื่องภาวะแทรกซ้อนในเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น นำมาซึ่งการสูญเสียค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางและเสียเวลาของคนไข้ที่มากขึ้น ส่งผลกระทบทา
ด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจและสังคมของตัวผู้ป่วยเอง
แผนกกายภาพบำบัดได้เล็งเห็นถึงโอกาสที่จะลด หรือป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ เศรษฐกิจและสังคม ทางแผนกกายภาพบำบัดโรงพยาบาลควนโดนจึงอยากเผยแพร่ความรู้ในการป้องกันการเกิดแผล การดูแลเท้าเพื่อลดการสูญเสียในผู้ป่วยเบาหวาน จึงจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยสอนวิธีการดูแลเท้า การตรวจเท้า และการออกกำลังกายเท้า ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้น และลดภาระค่าใช้จ่ายและค่ารักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาเท้าได้ ข้อที่ 2เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถออกกำลังกายเท้าเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าได้ ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถตรวจเท้าด้วยตนเองอย่างถูกต้องได้ ข้อที่ 4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ความรู้ และการดูแลเท้าแก่ผู้อื่นได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาเท้าได้ 2.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถออกกำลังกายเท้าเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าได้ 3.ร้อยละ 100 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถตรวจเท้าด้วยตนเองอย่างถูกต้องได้ 4. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ความรู้ และการดูแลเท้าแก่ผู้อื่นได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการสุขภาพเท้าดีชีวีมีสุขในผู้ป่วยเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
โครงการสุขภาพเท้าดีชีวีมีสุขในผู้ป่วยเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. โครงการสุขภาพเท้าดีชีวีมีสุขในผู้ป่วยเบาหวาน ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 400บ.x5 ชม.  = 2,000 บาท ค่าอาหารกลางวัน 60บ.x 1 มื้อ x 40 คน = 2,400 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ.x 2 มื้อ x 40คน  = 2,400 บาท ค่าเอกสารคู่มือ 50 บ.x40 คน = 2,000 บาท
    ค่าวัสดุอุปกรณ์(ลูกเทนนิส) 35 บาท  x 40 คน = 1,400 บาท รวม  10,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. โครงการสุขภาพเท้าดีชีวีมีสุขในผู้ป่วยเบาหวาน ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 400บ.x5 ชม.  = 2,000 บาท ค่าอาหารกลางวัน 60บ.x 1 มื้อ x 40 คน = 2,400 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ.x 2 มื้อ x 40คน  = 2,400 บาท ค่าเอกสารคู่มือ 50 บ.x40 คน = 2,000 บาท
    ค่าวัสดุอุปกรณ์(ลูกเทนนิส) 35 บาท  x 40 คน = 1,400 บาท รวม  10,200 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาเท้า
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวานออกกำลังกายเท้าเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าได้
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถตรวจเท้าด้วยตนเองอย่างถูกต้องได้
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเผยแพร่ความรู้ และการดูแลเท้าแก่ผู้อื่นได้


>