กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนวดฟื้นฟูเท้าและการแช่เท้าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ

ตำบลตะลุโบะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาการปวดเมื่อยมักเกิดขึ้นกับบุคคลทุกเพศทุกวัย โดยอาการปวดเมื่อยมักเกิดจากความเจ็บป่วย การเสื่อม ในระบบกล้ามเนื้อ การใช้งานกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน การเปลี่ยนอิริยาบถไม่เหมาะสมหรือแม้แต่ท่านั่ง ท่านอน ที่ไม่ถูกต้องมักทำให้เกิดอาการปวดรวมถึงในปัจจุบันการรับประทานอาหารจานด่วนกําลังเข้ามาแทนที่ วิถีการรับประทานอาหารของคนในหมู่บ้าน พฤติกรรมการบริโภคและการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมทางสังคม ส่งผลกระทบและชักนําให้เกิดโรคไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต และมะเร็งซึ่งโรคดังกล่าวหากไม่ได้รับการดูแลและการป้องกันส่งเสริมการปรับตัวที่ถูกวิธี ก็จะส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและเกิดความพิการตามมาได้
ตำบลตะลุโบะ ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ มีจำนวน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 352 คน คิดเป็นร้อยละ 3.97 และความดันโลหิตสูงจำนวน 787 คน คิดเป็นร้อยละ 13.43 จากจำนวนประชาการทั้งหมดในตำบลตะลุโบะจำนวน 8,863 คน (ข้อมูลจาก HDC วันที่ 16/11/2566) จากการรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงซึ่งมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปในแต่ละปี พบจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปีและในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง บางคนไม่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพฤติกรรม การดูแลตนเองที่ถูกวิธี บางส่วนลองผิดลองถูกโดยการซื้อยาสมุนไพรมากินเอง บางคนหลงเชื่อคําชักจูงของเพื่อนบ้านทดลองกินยาลูกกลอน ยาสมุนไพร จนก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตตามมา จึงได้นําภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างปลอดภัยทั้งทางด้านส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชนผู้รับบริการ กระทรวงสาธารณสุขมีการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาด้านการแพทย์แผนไทยมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มแรกโดยการนําสมุนไพรมาใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน มุ่งหวังให้ประชาชนพึ่งตนเอง ด้านสุขภาพจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ได้ระบุไว้ว่า การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีจะต้องส่งเสริมให้มีการดำเนินการพัฒนา ภูมิปัญญาทางด้านการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน เช่น การแพทย์แผนไทย สมุนไพรและการนวด ประสานเข้ากับระบบบริการการแพทย์แผนปัจจุบัน ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลก็สนับสนุน ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและ สมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขอย่างเหมาะสม
ดังนั้น กลุ่มงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ จึงได้จัดทำโครงการนวดฟื้นฟูเท้าและ การแช่เท้าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวานตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริม ให้ประชาชนได้รับบริการการแพทย์แผนไทยอย่างทั่วถึงและครอบคลุมให้มีการพัฒนางานการแพทย์แผนไทยในชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการอบรมนวดแผนไทยในชุมชน และให้ประชาชนได้รับการเรียนรู้การใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่นในการรักษาโรคเบื้องต้น และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะแทรกซ้อนของเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย เช่น การนวด การประคบ การแช่เท้าด้วยสมุนไพรการดูแลสุขภาพเบื้องต้น กับประชาชนทั่วไป

ร้อยละ 80ของกลุ่มเป้าหมายได้รับพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะแทรกซ้อนของเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย เช่น การนวด การประคบ การแช่เท้าด้วยสมุนไพรการดูแลสุขภาพเบื้องต้น กับประชาชนทั่วไป

0.00 80.00
2 เพื่อลดอัตราการตัดเท้า และภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดกับเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายลดอัตราการตัดเท้าและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

0.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายเท้า ได้รับการดูแลเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและไหลเวียน โลหิตโดยวิธีการแพทย์แผนไทย

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการชาปลายเท้า ได้รับการดูแลเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและไหลเวียน โลหิตโดยวิธีการแพทย์แผนไทย

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-คู่มือการอบรม 40 ชุด ชุดละ 25 บาทเป็นเงินรวม 1,000 บาท

-ค่าแบบฟอร์มประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม ชุดละ 2 บาทจำนวน 80 ชุด เป็นเงินรวม 160 บาท

-ค่าแบบฟอร์มตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ชุดละ 2 บาท จำนวน 40 ชุด เป็นเงินรวม 80 บาท

-ค่าแบบประเมินความพึงพอใจโครงการ ชุดละ 2 บาท จำนวน 40 ชุด เป็นเงินรวม 80 บาท

-ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 1 ป้ายราคาเมตรละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

-ค่าสื่อ คู่มือที่ใช้สอนอบรมจำนวน 2 ชุด ชุดละ 750 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

-ค่าวิทยากร 200*3 ชมเป็นเงิน 600 บาท รวมเป็นเงิน 4,320บาท

-ค่าอาหารกลางวันสำหรับ ผู้เข้าอบรม (พร้อมผู้จัดอบรม)45 คน คนละ 50.-บาท 1 มื้อ 1 วันเป็นเงิน 2,250 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม (พร้อมผู้จัดอบรม) 45 คน คนละ 35 บาท2 มื้อ เป็นเงิน 3,150บาท รวมเป็นเงิน 5,400.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9720.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้บริการตรวจรักษาทางการแพทย์แผนไทย -ทดสอบอาการชาปลายด้วยเครื่องตรวจเท้า Monofilamen -แช่เท้าสมุนไพร-นวดเท้าบำบัดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้บริการตรวจรักษาทางการแพทย์แผนไทย -ทดสอบอาการชาปลายด้วยเครื่องตรวจเท้า Monofilamen -แช่เท้าสมุนไพร-นวดเท้าบำบัดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอุปกรณ์ตรวจเท้าและแช่เท้า 1. เครื่องตรวจเท้า Monofilament 3 ชิ้น ราคาชิ้นละ300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

  1. กะละมัง 20 ชิ้น x 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท

  2. สมุนไพรแช่เท้าแบบสำเร็จ350*5 กิโลกรัมเป็นเงิน1,750 บาท

  3. ผ้าขนหนูขนาดกลางห่อเท้า 80 ผืน x 50 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท

  4. ไม้กดเท้า40 คน x 40 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท

  5. ครีมทาผิว เพื่อช่วยหล่อลื่น 4 ขวด x 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท รวมเป็นเงิน 10,050.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10050.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสาธิตสอนทำชาสมุนไพร เพื่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตสอนทำชาสมุนไพร เพื่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. หญ้าหวาน ชนิดแห้ง ราคา 80*15 ขีด เป็นเงิน 1,200 บ.

  2. ใบเตยตากแห้งราคา 80*5 ขีด เป็นเงิน 400 บาท

  3. ใบมัลเบอร์รี่ ราคา 50*10 ขีด เป็นเงิน 500 บาท

  4. ใบมิ้น สะระแหน่ ราคา 130*5 ขีด เป็นเงิน 650 บาท

  5. ถุงบรรจุ/ถุงซิปล๊อก50*8 แพคเป็นเงิน 400 บาท

  6. ซองชา30*10 บาทเป็นเงิน 300 บาท

รวมเป็นเงิน 3,450.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพและด้านการใช้พืชสมุนไพรในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,220.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ เรื่องสรรพคุณแต่ละตัวของสมุนไพรที่ใช้ในการแช่เท้า
2. กลุ่มเป้าหมายสามารถส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพและด้านการใช้พืชสมุนไพรในชีวิตประจำวัน
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการนวดเท้าและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับตัวเอง
4. ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถป้องกันการใช้ยาที่มากเกินไปควบคู่กับการนำสมุนไพรในการรักษา
โรคเบาหวานได้


>