กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี FIT test ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

ชมรมอาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลประจัน

1.นายมะรูดิงยาโงะ
2.นางสาวนิตยาหลี่หมัน
3.นางสาวอารีนาบินวาณิช
4.นางแวนูรีตา บูงอ
5.นางสาวปาอีซะห์โต๊ะอีแม

เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colorectal cancer; CRC) ในประเทศไทย มะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงถือเป็นหนึ่งใน 5 ของมะเร็งที่พบมากที่สุด จากสถานการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอดีตที่ผ่านมา พฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร บางประเภทมาก หรือน้อยเกินไป เช่น การบริโภคเนื้อแดง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ และบริโภคอาหารที่มีกากใย น้อยลง (สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง ทั้งสิ้น การทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงในระยะเริ่มแรกที่นิยมปฏิบัติมี หลากหลายวิธี และในจำนวนการทดสอบ (test) ทั้งหมดการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง (Fecal immunochemical test) สามารถช่วยลดอัตราตายจากมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้ เนื่องจากมีการตรวจพบ ความผิดปกติของมะเร็งในระยะเริ่มต้นก่อน ทำให้สามารถดำเนินการรักษาได้ทันก่อนพัฒนาไปสู่มะเร็งเต็มขั้น ยังมีวิธีการตรวจคัดกรองที่นิยมแพร่หลายคือการยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจ ลำไส้ ใหญ่/ไส้ตรง เป็นเทคนิคการตรวจคัดกรองที่ได้รับการยอมรับและมีความแม่นยำในการทำนายสูง และมะเร็งสถานการณ์ความรุนแรงและแนวทางในการดูแลและป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงดังที่กล่าวไว้ ข้างต้น
ชมรมอาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลประจัน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ประชากรกลุ่มอายุ 50-70 ปีคนเข้าถึงการตรวจคัดกรอง ด้วยวิธีการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ(Fecal immunochemical test) อย่างน้อยร้อยละ 15 และถ้าผลการตรวจเป็นบวกจะทำการยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาระบบป้องกันและควบคุมมะเร็ง โดยให้ความสำคัญต่อการตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรกรวมถึงค้นหาติ่งเนื้อชนิด adenomatous polyp เพื่อการรักษาและป้องกันที่ถูกต้องและทันท่วงที ลดอัตราการตายและการลุกลามของมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้ เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี FIT test ประจำปี 2567

ผู้เข้าอบรม และประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องมะเร็งลำไส้ และปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง

15200.00

1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในเรื่องมะเร็งลำไส้ และปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
2. เพื่อตรวจหาผู้ป่วยในระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงระยะต้น ด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test)
3. เพื่อให้ประชาชนที่ได้ตรวจคัดกรองด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test) ผลเป็นบวก จะได้รับการส่งต่อเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colonoscopy)

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี FIT test ประจำปี 2567

ชื่อกิจกรรม
โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี FIT test ประจำปี 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชนิดกิจกรรม งบประมาณ    ระบุวัน/ช่วงเวลา 1.กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อม     -  กุมภาพันธ์
2567

2.กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้การเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ และคัดกรองภาวะซีดด้วยวิธี การเจาะเลือด     1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท 3. ค่าวัสดุ FIT test จำนวน 100 ชุด x 16 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท 4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท    กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2567

๓.กิจกรรมติดตามประเมินผล     -  มีนาคม 2567

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,200.00 บาท (เงินหนึ่งหมื่นห้าพันสองร้อยบาทถ้วน) หมายเหตุ  สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มอายุ 50-70 ปี มีความรู้ในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
  2. ประชาชนกลุ่มอายุ 50-70 ปี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
  3. ประชาชนกลุ่มอายุ 50-70 ปี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มอายุ 50-70 ปี มีความรู้ในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
2. ประชาชนกลุ่มอายุ 50-70 ปี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
3. ประชาชนกลุ่มอายุ 50-70 ปี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>