กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างให้ตก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคติดต่อในชุมชนตำบลช้างให้ตก ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างให้ตก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก

ม.1 – ม.5 ตำบลช้างให้ตก.......สถานที่จัดอบรม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทุกวันนี้ เราจึงได้ยินข่าวการเจ็บป่วยบ่อยมาก เดี๋ยวลูกบ้านโน้นเป็นไข้....เดี๋ยวหลานบ้านนั้นท้องเสีย....พ่อเฒ่าข้างบ้านเป็นอัมพาตเดินไม่ได้....น้าคนนี้ก็เป็นทั้งเบาหวานความดัน....บ้านถัดไปซื้อหอยแครงมากินแล้วท้องเสียทั้งบ้าน.....เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบอกว่ามีเด็กเป็นไข้เลือดออกอยู่ที่โรงพยาบาล.....หนังสือพิมพ์ก็ลงข่าวว่ามีโรคอีโบล่าระบาดในเมืองนอก ในจำนวนการเจ็บป่วยทั้งหลาย โรคระบาด นับว่าอันตรายและทำให้เกิดความเสียหายมากที่สุด เพราะเป็นโรคที่เกิดกับคนจำนวนมาก อย่างรวดเร็ว หลายโรคทำให้เสียชีวิต เสียสุขภาพ หรือเสียทรัพย์สิน
โรคระบาดสามารถป้องกันได้ หรือลดความรุนแรงได้ด้วยวิธีการป้องกันควบคุมโรคอย่างเป็นระบบ ถูกวิธี รวดเร็ว และด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ก็สามารถช่วยบรรเทา และลดปัญหาโรคระบาดได้
โรคระบาดมีหลายแบบ การเจ็บป่วยทุกอย่างทำให้เกิดการระบาดได้ ถ้ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1. มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าจำนวนปกติที่เคยมี หรือมากกว่าจำนวนที่คาดว่าจะมีได้ในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ปกติจะมีผู้ป่วยอุจจาระร่วงวันละ 1-2 ราย ถ้ามีผู้ป่วยเพิ่มเป็น 5 รายในวันเดียวกัน เรียกว่า “โรคอุจจาระร่วงระบาด”
2. มีผู้ป่วยพร้อมกันจำนวนมาก (ตั้งแต่สองรายขึ้นไป) หลังจากไปร่วมกิจกรรมบางอย่างด้วยกันมา เช่น มีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษพร้อมกันมากกว่า 10 ราย หลังจากที่ไปร่วมงานเลี้ยงในงานแต่งงานแห่งหนึ่ง เรียกได้ว่า “โรคอาหารเป็นพิษระบาด”
3. มีผู้ป่วยเป็นโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดว่า เป็นโรคอันตราย แม้เพียง 1 ราย เช่น อหิวาตกโรค โรคไข้หวัดนก โรคโปลิโอ โรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
4. มีผู้ป่วยเป็นโรคที่ไม่รู้จัก หรือเหตุการณ์ที่ไม่เคยพบในพื้นที่มาก่อน ให้นับว่าเป็นการระบาดไว้ก่อน เช่น ไก่ป่วยตายผิดปกติจำนวนมาก ตัวอย่างชื่อโรคที่ทำให้เกิดการระบาดได้บ่อยในพื้นที่ต่างๆ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้ฉี่หนู โรคตาแดง (ชนิดระบาด) โรคหัด ฯลฯ
โรคระบาดมีความสำคัญ เพราะทำให้เกิดความสูญเสีย และพบการเกิดโรคระบาดบ่อยครั้งมากขึ้นทุกขณะ ตัวอย่างความสูญเสียจากโรคระบาด เช่น
- ทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร
- ผู้ป่วยและญาติ ทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย
- เกิดความเครียด วิตกกังวล และมีปัญหาสุขภาพจิต
- ผู้ป่วยและญาติ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล และสูญเสียรายได้จากการไปทำงานไม่ได้
- ประเทศชาติสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น โรคไข้หวัดนก ทำให้เป็ด ไก่ และไข่ขายไม่ได้ ต้องทำลายทิ้งจำนวนมหาศาล
ทุกวันนี้ มีแนวโน้มที่จะพบโรคระบาดบ่อยขึ้น ความรุนแรงเพิ่มขึ้น และมีโรคชนิดใหม่ๆ มากขึ้น ในปีที่ผ่านมา ตำบลช้างให้ตก ก็พบผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อแล้วหลายราย เช่นโรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรควัณโรคโรคเลปโตสไปโรสิส (ฉี่หนู)โรคมือเท้าปาก เป็นต้น ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช้างให้ตก จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้คนในชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อและการป้องกัน

 

0.00
2 2. เพื่อเน้นให้ชุมชนตระหนักถึงอันตรายของโรคติดต่อและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

 

0.00
3 3. เพื่อเป็นการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและติดตามผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
1. จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและติดตามผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อ x 60 คน                                                   เป็นเงิน  .....3,600......  บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม มื้อละ 70 บาทx1 มื้อx60 คน เป็นเงิน  .....4,200......  บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากรชั่วโมงละ 300 บาท x 6 ชั่วโมง        เป็นเงิน  .....1,800.....  บาท
  • ค่าแผ่นป้ายไวนิลป้องกันโรคติดต่อ จำนวน 15 ป้ายๆ ละ 450 บาท   เป็นเงิน  .....6,750…..  บาท
  • ค่าแผ่นป้ายไวนิลโครงการจัดการอบรม จำนวน 1 ป้ายๆละ 450 บาท เป็นเงิน .........450…. บาท
  • ค่าแผ่นพับเรื่องโรคติดต่อ จำนวน 1,000 ชุด ๆ ละ 2 บาท        เป็นเงิน  ......2,000.... บาท
  • ค่าวัสดุสำนักงานที่ใช้ในการอบรม                     เป็นเงิน   ….2,200..... บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เรื่องโรคติดต่อมากกว่า ร้อยละ 80
2. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อในชุมชน และมีแนวทางป้องกันโรค
3. ประชาชนสามารถดูแลตนเองและครอบครัว ไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ
4. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนตำบลช้างให้ตก......


>