กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านนาปะขอ

1.นางยุพาพร มากรอด
๒.นางอุไร มุสิกะสง
3.นางวริยา ดอกไม้แก้ว
4.นางเครือวัลย์ ชูไฝ
5.นางอภิรดีพรมศิลา

รพ.สต.บ้านนาปะขอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีการระบาดต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๖ ได้ทวีความรุนแรงและมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจานวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี ๒๕๖๖ ของจังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยสะสมโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน ๒,๒๐๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๔๑๙.๒๘ ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ๑ ราย อัตราตายเท่ากับ ๐.๑๙ ต่อประชากรแสนคน และ จากระบบรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาอำเภอบางแก้ว พบผู้ป่วยสะสมโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน 163 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 612.78 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 3.76 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.61โดยพบตำบลที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือตำบล ท่ามะเดื่อ อัตราป่วยเท่ากับ 750.03ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ ตำบลนาปะขอ, ตำบลโคกสัก, อัตราป่วยเท่ากับ 605.59 ,507.67ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ มีแนวโน้มการระบาดของโรคกระจายไปทุกพื้นที่ในเขตอำเภอบางแก้ว และเมื่อเทียบกับอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๕ อัตราป่วยเท่ากับ ๑๕๓.๙๐ ต่อประชากรแสนคน จะเห็นได้ว่ามีอัตราป่วยที่เพิ่มขึ้น
จากปัญหาดังกล่าว ประชาชน แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวและอสม.หมู่ที่ ๒,๔,๕,๗ และหมู่ที่ ๑๒ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยมีความเห็นร่วมกันที่ จะให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน และให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาไข้เลือดออกในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงได้ทำโครงการ อสม.ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1

ชื่อกิจกรรม
1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าน้ำดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่/ อสมจำนวน๗๐ คนx๑มื้อx ๑๐ บาทx ๗ครั้ง = ๔,๙๐๐ บ. -ค่าน้ำแข็ง ๑๐๐ บ.x ๗ วัน= ๗๐๐ บ. -ค่าจ้างถ่ายเอกสารแผ่นพับให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแผ่นละ ๑ บ.x ๙๐๐แผ่น =๙๐๐บ. -ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายแผ่นละ ๐.๕ บ.x ๒๐๐แผ่น =๑๐๐บ. -ค่าทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย(ทรายอะเบท)ถังละ 4000 บ.x ๕ ถัง =๒๐,๐๐๐บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
๒.ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่
๓.สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้


>