กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีใส่ใจ ร่วมกันเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

 

0.00

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช่จ่ายในการรักษาสูง การป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกนั้น สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้ารับบริการตรวจคัดกรอง โดยวิธี HPV DNA Test ที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ในขณะที่การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งเต้านม นั้น กลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ทุกเดือนหรือสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรอง โดยบุคลากรทางการแพทย์ตามสถานบริการ สาธารณสุขใกล้บ้านเป็นประจำทุกปี ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและการป้องกันตนเองในระยะแรก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพตลอดจนลดอัตราป่วยและอัตราตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
จากผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ใน
ปี๒๕๖6สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีมีจำนวนทั้งหมด ๙๐๐ ราย ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 316 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.11ซึ่งได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือร้อยละ ๒๐และผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและโดยเจ้าหน้าที่ ร้อยละ53.56 และ 66.28ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ ๙๐ และ ร้อยละ ๖๐ ตามลำดับ ดังนั้นเพื่อรักษาความต่อเนื่องของความครอบคลุมในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทางทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ จึงมีแนวคิดการใช้คูปองสุขภาพติดตามสตรีกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยวิธี HPV DNA Test โดยเน้นเครือข่าย อสม.ในการติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งนี้เพื่อตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็ง
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ จึงได้จัดทำโครงการสตรีใส่ใจ ร่วมกันเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี ๒๕๖7 ในชุมชนอย่างต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้าน

ร้อยละ 100 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

100.00 0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะผิดปกติได้รับการส่งต่อพบแพทย์

ร้อยละ 100 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายที่พบภาวะผิดปกติได้รับการส่งต่อพบแพทย์

100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม จำนวน50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมจำนวน 50คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 . กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม จำนวน166 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 8,300 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมจำนวน 166คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 8,300 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2. เครือข่าย อสม.ติดตามสตรีกลุ่มเป้าหมายโดยใช้คูปองสุขภาพ ตรวจมะเร็งปากมดลูก
3. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่พบภาวะผิดปกติได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทันที


>