กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัย (RDU) ในชุมชนตำบลปาเสมัสปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

1.นางชนิศาไชยประดิษฐ
2.นายทรงฤทธิ์ จันทร์แดง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความปลอดภัยจากการใช้ยาในชุมชนมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัยได้แก่ ผู้ใช้ยา ผู้สั่งใช้ยา ผู้ผลิต การกระจายยาและการกำกับ ดูแลตามกฎหมายยา จากการทบทวนงานวิจัยในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องพบว่า สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ใช้ยาขาดความรู้ที่ถูกต้องมีความเชื่อที่ผิดๆและที่สำคัญมีแหล่งจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมและผิดกฎหมายกระจายอยู่ทั่วไป ผลจากการสำรวจร้านค้า/ร้านชำในตำบลปาเสมัส ในปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 31 ร้าน พบว่ามีร้านชำขายยาอันตราย เช่น ยาปฎิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ที่เป็นยาควบคุมพิเศษ จำนวน 12 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 38.70 นอกจากนี้ยังพบผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารสเตียรอยด์ เช่น ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพรซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ยาผง ยาเม็ด ยาลูกกลอน เป็นต้น การดำเนินการเชิงรุกในชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนให้มีทักษะในการคุ้มครองตนเองและครอบครัวในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส มีความประสงค์เพื่อจะแก้ปัญหาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัย(RDU) ในชุมชนตำบลปาเสมัสให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์

 

0.00
2 เพื่อให้ชุมชนมีเครือข่ายแกนนำที่สามารถให้ความรู้หรือบอกต่อแก่คนในชุมชนได้ เพื่อลดปัญหาการใช้ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์ โดยไม่จำเป็น

 

0.00
3 ร้อยละของการใช้ยาปฎิชีวนะในโรคติดเชื้อที่ระบบการหายใจช่วงบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพันในผู้ป่วยนอก น้อยกว่าร้อยละ 20

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัยในชุมชนตำบลปาเสมัสในกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัยในชุมชนตำบลปาเสมัสในกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม             จำนวน 80 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท                                          เป็นเงิน  5,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้เกี่ยงข้อง จำนวน80 คนๆ ละ 1  มื้อๆ ละ 80  บาท                             เป็นเงิน  6,400 บาท                                                                       -ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย  จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท     เป็นเงิน  3,600 บาท
    -ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1 x 2 เมตรจำนวน 1 แผ่นๆ ละ 500 บาท    เป็นเงิน    500   บาท
    -ค่าป้ายไวนิลให้ความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัยจากการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาปฎิชีวนะ พร้อมขาตั้ง จำนวน 3 ชุดๆละ 1,200 บาท                      เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าสมุดปกอ่อน จำนวน 80 เล่มๆละ 10 บาท            เป็นเงิน    800 บาท
  • ค่าปากกา จำนวน 80 แท่งๆละ5 บาท                    เป็นเงิน    400 บาท

รวมเป็นเงิน 20,900 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 20,900บาท (สองหมื่นเก้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการใช้ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพรและสามารถใช้ยาอย่างสมเหตุผล
  2. ชุมชนมีเครือข่ายและแกนนำที่สามารถให้ความรู้หรือบอกต่อคนในชุมชน ลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุดและยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการใช้ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพรและสามารถใช้ยาอย่างสมเหตุผล
2. ชุมชนมีเครือข่ายและแกนนำที่สามารถให้ความรู้หรือบอกต่อคนในชุมชน ลดปัญหาการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุดและยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น


>