กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสถานีรักษ์สุขภาพในหมู่บ้าน (Health Station check) ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

1.นางชนิศา ไชยประดิษฐ
2.นางสาวปาซีลายูนุ๊

พื้นที่หมู่ ๒,หมู่ ๔,หมู่ ๕ และหมู่ ๘ ตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั่วโลกพบว่ามีแนวโน้มของอัตราป่วยความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นรวมทั้งประเทศไทยจากข้อมูลสำรวจสุขภาพประจำปีครั้งที่ 4 และครั้งที่ 5ประจำปี 2552และ 2557ความชุกของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ21.4เป็นร้อยละ24.7คิดเป็นจำนวน13 ล้านคนและประมาณ ร้อยละ 45 ของวัยทำงานที่มีภาวะความดันโลหิตสูงไม่ทราบว่าตนเองเป็นความดันโลหิตสูง และไม่ได้เข้ารับการรักษา และโรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุการเสียชีวิต 2 ใน 3 ของประชากรไทย ส่งผลต่อทั้งด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา ประเทศ อีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
จากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2563-2565)ผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส พบว่าอัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ คิดเป็น 2.3 , 3.33 และ 4.46 ตามลำดับ และจากการติดตามการควบคุมความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เพื่อให้ได้ตามค่าเป้าหมายของการรักษา พบว่า ควบคุมความดันได้ เพียง ร้อยละ 62.08 ,58.43 และ 50.76 ตามลำดับและอัตราผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ คิดเป็น 2.45 ,1.47 และ 1.64 ตามลำดับ และจากการติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ได้ตามค่าเป้าหมายของการรักษา พบว่า ควบคุมระดับน้ำตาลได้เพียง ร้อยละ46.95, 43.63 และ 40.72 ตามลำดับ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขในระดับหมู่บ้าน ไม่ว่าจะ เป็นการวัดความดันโลหิตเพื่อประเมินโรคความดันโลหิตสูง การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว เพื่อประเมิน โรคเบาหวาน การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเพื่อประเมินดัชนีมวลกาย (BMI) การวัดเส้นรอบเอวเพื่อประเมินภาวะอ้วน ลงพุง การประเมินสถานะสุขภาพของตนเองเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ประชาชนรู้ข้อมูลสุขภาพและตระหนักถึงปัจจัยรบกวนทางสุขภาพต่างๆ ที่ตนต้องฝ้าระวัง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส จึงได้จัดทำโครงการสถานีรักษ์สุขภาพในหมู่บ้าน (Health Station check) ปีงบประมาณ2567เพื่อเป็นการให้บริการตรวจเชคสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเองสำหรับประชาชนภายในหมู่บ้านตามคำขวัญ “ใกล้บ้านใกล้ใจใส่ใจสุขภาพ”

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเองในหมู่บ้าน (Health station check) สำหรับประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ละ 1 สถานี

 

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง เช่น การวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดเพื่อค้นหาเบาหวาน การชั่งน้ำหนัก การวัดส่วนสูง การวัดรอบเอว ได้อย่างทั่วถึงและสะดวกรวดเร็วในหมู่บ้าน

 

0.00
3 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังในการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่

 

0.00
4 เพื่อเป็นการดูแลและติดตามสุขภาพของตนเองร่วมกับบุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5,585
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหมด 100 คน แบ่งออกเป็น 2 รุ่นๆละ 50 คน /รุ่นละ 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหมด 100 คน แบ่งออกเป็น 2 รุ่นๆละ 50 คน /รุ่นละ 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง
        จำนวน  50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน  2  รุ่น            เป็นเงิน  7,000 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง
       จำนวน  50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 80 บาท จำนวน   2  รุ่น       เป็นเงิน  8,000 บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย
      จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2  รุ่น           เป็นเงิน  3,600 บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม
        จำนวน  4 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ  400 บาท  จำนวน  2  รุ่น    เป็นเงิน  9,600 บาท
    5.  ค่าแฟ้มใสติดกระดุม  จำนวน  80  อันๆละ 10  บาท         เป็นเงิน   800   บาท 6.  ค่าปากกา จำนวน 80 ด้ามๆละ 5 บาท               เป็นเงิน   400   บาท 7.  ค่าสมุด  จำนวน  80  เล่มๆละ  10  บาท              เป็นเงิน   800   บาท     8.  ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาดกว้าง 1×2  เมตร          จำนวน  1  แผ่นๆละ  500  บาท                  เป็นเงิน      500  บาท

รวมเป็นเงิน 30,700 บาท (สามหมื่นเจ็ดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างทั่วถึง  สะดวก และรวดเร็ว ใกล้บ้านใกล้ใจ 2.  ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และเหมาะสม (Health Literacy & Self  Care)     3.  ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองสุขภาพได้ด้วยตนเอง  และสามารถรู้ค่าความดันโลหิตสูง และควบคุมความดันโลหิตสูงได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
4.  ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองสุขภาพได้ด้วยตนเอง  และสามารถรู้ค่าปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด และควบคุมระดับน้ำตาลได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
5.  อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  รายใหม่ลดลงจากเดิม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30700.00

กิจกรรมที่ 2 สถานีตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
สถานีตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 สถานีตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป     (กลุ่มเป้าหมาย ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน  5,585  คน  ข้อมูล  วันที่  30  กันยายน  2566)

•  เครื่องวัดความดันอัตโนมัติแบบพกพา จำนวน  4  เครื่องๆละ  3,000  บาท     เป็นเงิน 12,000  บาท •  เครื่องชั่งน้ำหนักแบบเข็ม  จำนวน  4  เครื่องๆละ 1,900  บาท               เป็นเงิน    7,600 บาท •  แผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด    จำนวน  20  กล่องๆละ 890  บาท      เป็นเงิน  17,800  บาท •  เข็มเจาะเลือด  จำนวน  20  กล่องๆละ 200  บาท            เป็นเงิน     4,000 บาท •  เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด  จำนวน  4  เครื่องๆละ  3,000  บาท        เป็นเงิน  12,000  บาท •  โต๊ะขนาด กว้าง 60 ซม. ยาว 120 ซม. สูง 75 ซม.
จำนวน 4 ตัวๆละ 2,000 บาท                     เป็นเงิน    8,000  บาท •  เก้าอี้พลาสติกสำหรับนั่ง จำนวน  8 ตัวๆละ  300  บาท                          เป็นเงิน    2,400   บาท •  ปลั๊กไฟพ่วงสำหรับต่อไฟ   จำนวน  4  อันๆละ  300  บาท                      เป็นเงิน    1,200   บาท •  ชุดอุปกรณ์สื่อความรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  วงล้อประเมินค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
จำนวน 4 อันๆละ 1,490  บาท                  เป็นเงิน   5,960   บาท   วงล้อเกณฑ์ความเสี่ยงโรคความดันและโรคเบาหวาน จำนวน 4 อันๆละ 1,490 บาท                    เป็นเงิน   5,960   บาท   สายวัดรอบเอวแบบตลับ จำนวน 4 อันๆละ 90  บาท    เป็นเงิน    360     บาท   ที่วัดส่วนสูงแบบพกพา  จำนวน 4  อันๆละ 390  บาท      เป็นเงิน    1,560  บาท   ชุดขาตั้งแบบ X- Stand โรคเบาหวาน
จำนวน 4 ชุดๆละ 1,390 บาท                    เป็นเงิน    5,560  บาท   ชุดขาตั้งแบบ X- Stand โรคความดันโลหิตสูง
จำนวน 4 ชุดๆละ 1,390 บาท                    เป็นเงิน    5,560  บาท •  ป้ายไวนิล แสดง “จุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเอง Health station check” - QR Code
ขนาด 1.5×2 เมตร  จำนวน  4  แผ่นๆละ  750  บาท                     เป็นเงิน  3,000   บาท •  กล่องพลาสติกสำหรับใส่เก็บอุปกรณ์  จำนวน  4  กล่องๆละ  300  บาท      เป็นเงิน   1,200   บาท

รวมเป็นเงิน  94,160  บาท  (เก้าหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยหกสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างทั่วถึง  สะดวก และรวดเร็ว ใกล้บ้านใกล้ใจ 2.  ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และเหมาะสม (Health Literacy & Self  Care)     3.  ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองสุขภาพได้ด้วยตนเอง  และสามารถรู้ค่าความดันโลหิตสูง และควบคุมความดันโลหิตสูงได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
4.  ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองสุขภาพได้ด้วยตนเอง  และสามารถรู้ค่าปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด และควบคุมระดับน้ำตาลได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
5.  อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  รายใหม่ลดลงจากเดิม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
94160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 124,860.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างทั่วถึงสะดวก และรวดเร็ว ใกล้บ้านใกล้ใจ
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และเหมาะสม (Health Literacy & SelfCare)
3.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองสุขภาพได้ด้วยตนเองและสามารถรู้ค่าความดันโลหิตสูง และควบคุมความดันโลหิตสูงได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองสุขภาพได้ด้วยตนเองและสามารถรู้ค่าปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด และควบคุมระดับน้ำตาลได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
5.อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงจากเดิม


>