กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.2 ส. ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

1.นางชนิศา ไชยประดิษฐ
2.นางสาวปาซีลายูนุ๊

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส /พื้นที่หมู่ ๒,หมู่ ๔,หมู่ ๕ และหมู่ ๘ ตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้หลักการ 3 อ. 2 ส.คือ การบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ การลดหวาน มันเค็มกินผัก ผลไม้ให้มากขึ้นและมีกิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการดื่มสุราและสูบบุหรี่ จากผลการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส โดยการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ขึ้นไปย้อนหลัง3ปี (2564 - 2566)พบว่ามีประชาชนที่ภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ22.77 ,13.78 , 12.84ตามลำดับ และมีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ30.18,24.03,11.95ตามลำดับซึ่งจะเห็นว่าอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเมื่อเทียบกับของระดับประเทศไม่เกินร้อยละ10.00และร้อยละ12.00 ตามลำดับแสดงให้เห็นว่าโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในระดับพื้นที่ในเขตรับผิดชอบยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องได้รับการแก้ไขต่อไป
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ตำบลปาเสมัสจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.2 ส.ปีงบประมาณ 2567เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดและชะลอการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ ๑๕ ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงเพื่อค้นหาความเสี่ยงในระยะเริ่มต้น

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเกิดการเรียนรู้ มีศักยภาพและทักษะที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

0.00
3 ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน

 

0.00
4 เพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาพการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 1 วัน รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 1 วัน รายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

•  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง
จำนวน  60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน  2  ครั้ง      เป็นเงิน  8,400 บาท

•  ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง
จำนวน  60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 80 บาท จำนวน   2  ครั้ง          เป็นเงิน  9,600 บาท •  ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย
จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2  ครั้ง        เป็นเงิน  3,600 บาท
•  ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม
จำนวน  4 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ  400 บาท  จำนวน  2  ครั้ง    เป็นเงิน  9,600 บาท
•  ค่าแฟ้มใสติดกระดุม  จำนวน  100  อันๆละ 10  บาท        เป็นเงิน  1,000 บาท •  ค่าปากกา จำนวน 100 ด้ามๆละ 5 บาท                 เป็นเงิน     500 บาท •  ค่าสมุด  จำนวน  100  เล่มๆละ  10  บาท            เป็นเงิน  1,000 บาท •  ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 2 เมตร      จำนวน  1  แผ่นๆละ  500  บาท                  เป็นเงิน      500  บาท

รวมเป็นเงิน 34,200 บาท (สามหมื่นสี่พันสองร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มเสี่ยงตระหนักและเห็นความสำคัญต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เกิดทักษะและการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรควิถีชีวิต ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่อันจะนำไปสู่การสร้างสุขภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34200.00

กิจกรรมที่ 2 การติดตามพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อประเมินค่า BMI และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.2 ส.ในกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการเข้าโครงการ จำนวน 3 ครั้ง (1 เดือน, 2 เดือน, 3 เดือน)

ชื่อกิจกรรม
การติดตามพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อประเมินค่า BMI และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.2 ส.ในกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการเข้าโครงการ จำนวน 3 ครั้ง (1 เดือน, 2 เดือน, 3 เดือน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตารางการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  3 อ.2 ส. ครั้งที่    วัน เดือน ปี    บันทึกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. 2ส. เดือน      อาหาร  ออกกำลังกาย อารมณ์  บุหรี่  ค่า BMI 1
2
3
งบประมาณ •  ชุดโมเดลอาหารเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 ชุดๆละ 4,990 บาท                  เป็นเงิน  4,990  บาท •  วงล้อสาธิตกินมัน  แค่ไหนไม่ป่วย จำนวน 1 อันๆละ 1290  บาท              เป็นเงิน  1,290  บาท •  วงล้อสาธิตกินเค็ม  แค่ไหนไม่ป่วย จำนวน 1 อันๆละ 1290  บาท             เป็นเงิน  1,290  บาท •  ชุดอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย   ฮูล่าฮูป  จำนวน 20 อันๆละ 200 บาท                           เป็นเงิน  4,000 บาท   ลูกวอลเลย์บอล  จำนวน  5    ลูกๆละ  800 บาท              เป็นเงิน  4,000 บาท   ตาข่ายวอลเลย์บอล พร้อมขาตั้ง  จำนวน 1 ชุดๆละ  5,000   เป็นเงิน  5,000 บาท
  ไม้แบดมินตัน (คู่)  จำนวน  5 ชุดๆละ  1,500  บาท            เป็นเงิน  7,500 บาท   ลูกขนไก่  จำนวน  2  กล่องๆละ 300  บาท                      เป็นเงิน  600    บาท   ตาข่ายแบดมินตันพร้อมขาตั้ง  จำนวน 1 ชุดๆละ 3,000 บาท เป็นเงิน  3,000 บาท รวมเป็นเงิน  31,670 บาท  (สามหมื่นหนึ่งพันหกร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มเสี่ยงตระหนักและเห็นความสำคัญต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เกิดทักษะและการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรควิถีชีวิต ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่อันจะนำไปสู่การสร้างสุขภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31670.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,870.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชากรกลุ่มเสี่ยงตระหนักและเห็นความสำคัญต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เกิดทักษะและการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรควิถีชีวิต ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่อันจะนำไปสู่การสร้างสุขภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป


>