กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการการเข้าถึงบริการของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย/ผู้ป่วยสุขภาพจิต ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเต่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการเข้าถึงบริการของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย/ผู้ป่วยสุขภาพจิต ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเต่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแพงพวย

นายพิเชฐ จิตบุณยเกษม และคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแพงพวย (หมู่ที่ 1 , 4 และ 10 ต.หนองเต่า อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

80.00

จากสถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทย กรมสุขภาพจิตรรายงานว่ามีผู้ป่วยร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 3 ล้านคน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ แตในปัจจุบันพบว่าคนไทยให้ความสนใจกับโรคนี้น้อย มักมีทัศนคติในทางลบ คิดว่าเป็นโรคจิตโรคประสาทหรือบ้า ทำให้ไม่กล้ารับการรักษา จึงพบว่าการเข้าถึงบริการและการวินิจฉัยรักษาเพียงร้อยละ 28 เท่านั้น โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีจะก่อให้เกิดการสูญเสียสุขภาวะ ส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจรวมทั้งเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาของภาครัฐ นอกจากนี้หากเป็นเรื้อรังจะทำให้ผู้ป่วยมีความคิดทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตายในที่สุด ซึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมให้คนป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีหลายปัจจัย ได้แก่พันธุกรรม ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผู้ที่เก็บกดอารมณ์ มองโลกในแง่ร้าย มีโรคทางกายหรือโรคเรื้อรังเนื่องจากโรคเรื้อรัง เป็นการเจ็บป่วยที่รักษาไม่หายขาด ใช้เวลารักษายาวนาน มีผลกระทบต่อร่างกายทุกระบบต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติและลดภาวะแทรกซื้อต่าง ๆ ที่จะตามมา การเจ็บป่วยเรื้อรังไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ต้องการฟื้นฟูและต้องใช้ระยะเวลานานในการดูแลรักษาต่อเนื่องตลอดไป ดังนั้นการเจ็บป่วยเรื้อรังก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากการเจ็บป่วยทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ครอบครัว และเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเครียด วิตกกังวล หากผู้ป่วยไม่สามารถจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลจะก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตที่รุนแรงขึ้นได้ ทำให้เกิดความท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อหน่าย ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง มีภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงสูงที่จะก่อความรุนแรงต่อชีวิต ทรัพย์สินกับเจ้าหน้าที่และผู้อื่นในการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในชุมชน ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแพงพวย ได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและค้นหาผู้ที่เสียงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และผู้ป่วยจิตเวชที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการการเข้าถึงบริการของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย/ผู้ป่วยสุขภาพจิต ปี 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงคือผู้ป่วยโรคเรื้อรังผู้สูงอายุ และผู้ใช้สุรา ยาเสพติดได้รับการประเมิน 2Q , 9Q และ 8Q ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00 80.00
2 เพื่อให้แกนนำเครือข่ายมีความรู้ สามารถค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
  1. แกนนำเครือข่ายได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นแกนนำเครือข่าย เชี่ยวชาญสุขภาพจิตมีความรู้เรื่อง คู่มือ 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายสามารถค้นหา เฝ้าระวังและแจ้งเหตุ
70.00
3 ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  1. ผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 217
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 188
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติโครงการตามลำดับขั้น

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติโครงการตามลำดับขั้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ
  3. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ แกนนำเครือข่ายให้เป็นแกนนำเครือข่ายเชี่ยวชาญสุขภาพจิต สามารถดำเนินงานตามคู่มือสุขภาพจิตชุมชนสำหรับแกนนำเครือข่ายของกรมสุขภาพจิต มีความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไข ปัญหาสุขภาพจิตและเข้าใจในเรื่อง 10 สัญญาณตือนภัยในการฆ่าตัวตายและหลักการปฐมพยาบาลทางจิตใจ
  4. สร้างรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการและพื้นที่ที่ครอบคลุมทั้งการคัดกรองการนำ 10 สัญญาณตือนภัยมาใช้ในชุมชนและครัวเรือนการแจ้งข่าวการส่งต่อการดูแลเบื้องตัน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (depress and Suicide Screening test : DS๘ ) ในกลุ่มเป้าหมายโดยคัดกรองโรคซึมเศร้าและการประเมินการฆ่าตัวตายคำถาม 2Q , 9Q และ 8Q

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (depress and Suicide Screening test : DS๘ ) ในกลุ่มเป้าหมายโดยคัดกรองโรคซึมเศร้าและการประเมินการฆ่าตัวตายคำถาม 2Q , 9Q และ 8Q
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองและประเมินสุขภาพจิตของผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยคำถาม 2Q , 9Q และ 8Q ตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันการฆ่าตัวตายในสถานบริการ

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองและประเมินสุขภาพจิตของผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโดยคำถาม 2Q , 9Q และ 8Q ตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันการฆ่าตัวตายในสถานบริการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ จำนวน 23,620.00 บาท รายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 7,420.00 บาท - ค่าสัมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 3,600.00 บาท - ค่ารูปเล่มรายงานผลการดำเนินงาน เป็นเงิน 2,650.00 บาท - ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน 450.00 บาท - ค่ารูปเล่มรายงานผลการดำเนินงาน เป็นเงิน 500.00 บาท - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 9,000.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตาม ดูแลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรค ซึมเศร้า ประชาชนกลุ่มที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการดูและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ทำให้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งภาครัฐและประชาชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,620.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถเข้าถึงบริการโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น และสามารถได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง


>