กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ขอเสนอโครงการ อย.น้อยสุขภาพดี รู้ทันผลิตภัณฑ์สุขภาพ เริ่มที่โรงเรียน ตำบลระแว้ง ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ระแว้ง

นางสาวดารียะห์กานา

โรงเรียนอารยธรรมศาสตร์ หมู่ 3 บ้านมาปะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อาหารเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญของมนุษย์ การบริโภคอาหารก็เพื่อทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่โดยปกติสุข ในการบริโภคอาหารไม่ควรจะคำนึงถึงแต่เพียงความอร่อยเท่านั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาควบคู่กันไปคือ ความสะอาดของอาหาร และความปลอดภัย ในการบ

 

5.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

 

5.00

อาหารเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญของมนุษย์ การบริโภคอาหารก็เพื่อทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่โดยปกติสุข ในการบริโภคอาหารไม่ควรจะคำนึงถึงแต่เพียงความอร่อยเท่านั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาควบคู่กันไปคือ ความสะอาดของอาหาร และความปลอดภัย ในการบริโภค ในปัจจุบันมีการเพิ่มจำนวนของประชากรอย่างรวดเร็ว การผลิตอาหารจำเป็นต้องอาศัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากมายในการผลิตอาหาร เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงเกิดเป็นร้านอาหาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า และโรงงานผลิตอาหาร ซึ่งการดำเนินงานผลิตอาหารนั้นจำเป็นต้องอาศัยหลักการของการสุขาภิบาลอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีความน่าบริโภค เพราะมิเช่นนั้นแล้วอาจเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหาร การได้รับอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ทำให้มีพลังสามารถสร้างสรรค์ความเจริญต่างๆ ให้แก่ประเทศชาติได้ จึงต้องมีการควบคุม กำกับ ดูแลความปลอดภัยของอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่การนำเข้าอาหารและวัตถุดิบ การผลิตผลทางการเกษตร การผลิตและแปรรูปอาหารตั้งแต่ระดับครัวเรือนถึงระดับอุตสาหกรรม การจัดจำหน่าย และการกระจายอาหารสู่ผู้บริโภค เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหารที่ปลอดภัย อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภค หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า ในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไปเช่น บอแรกซ์ โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาดเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ดังนั้น หากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อ หรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระแว้ง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน จึงจัดทำโครงการ อย.น้อย สุขภาพดี ร้ทันผลิตภัณฑ์สุขภาพ เริ่มที่โรงเรียนขึ้น ตามประกาศกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ และบริการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 ข้อ 7 (1 ) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการหรือสาธารณสุขในพื้นที่ และประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2567 กลุ่มเป้าหมาย ข้อ 3 กลุ่มวัยเรียนและเยาวชน ด้วยเห็นว่าเด็กเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศชาติ หากปลูกฝังให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมแล้วจะช่วยลดปัญหาทางด้านสาธารณสุขในอนาคต ซึ่งเด็กเป็นผู้ที่กระตือรือร้น และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครอง ให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล เพื่อนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ นักเรียน อย.น้อยและคุณครู ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย 2. นักเรียน อย.น้อยและคุณครู สามารถใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อให้นักเรียนและคุณครู สามารถอ่านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพได้

 

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 202
กลุ่มวัยทำงาน 8
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.ประชุมชี้แจงครูอนามัยโรงเรียน และคุณครูประจำชั้น เพื่อทราบและประสานความร่วมมือ 2.ประสานโรงเรียน เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นป.4 ป.5 ป.6 จำนวน 202 คนเพื่อเข้ารับการอบรม 3.ประสานวิทยากรที่มีความรู้ ม

ชื่อกิจกรรม
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.ประชุมชี้แจงครูอนามัยโรงเรียน และคุณครูประจำชั้น เพื่อทราบและประสานความร่วมมือ 2.ประสานโรงเรียน เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นป.4 ป.5 ป.6 จำนวน 202 คนเพื่อเข้ารับการอบรม 3.ประสานวิทยากรที่มีความรู้ ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการและสาธิต การตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร ให้กับนักเรียน อย.น้อย และคุณครู โรงเรียนอารยธรรมศาสตร์ แบ่งเป็นฐานการเรียนรู้
- ค่าวิทยากร
  จำนวน 4 คน x 600 บาท  x 6 ชั่วโมง             เป็นเงิน 14,500 บาท - ค่าอาหารกลางวัน ในการอบรม
   จำนวน 210 คน x 60 บาท x 1 มื้อ                 เป็นเงิน 12,600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
             จำนวน 210 คน x 30 บาท x 2 มื้อ              เป็นเงิน 12,600 บาท

  • ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อการอบรม              เป็นเงิน 9,500 บาท
  • ค่าจัดซื้อตัวอย่างอาหารสดและผลิตภัณฑ์สุขภาพในการสาธิต    เป็นเงิน 9,000 บาท
  • ค่าชุดตรวจ สารปนเปื้อนในอาหาร 5 รายการ ชุดตรวจ บอแร็กซ์ ฟอร์มมาลีน สารฟอกขาว สารกันรา น้ำมันทอดซ้ำ        เป็นเงิน 9,900 บาท            เป็นเงิน 68,100 บาท            หมายเหตุ ค่าใช้จ่าย ถัวเฉลี่ยทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียน อย.น้อย และคุณครู ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
  2. นักเรียน อย.น้อย และคุณครู สามารถใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ได้อย่างถูกต้อง
  3. นักเรียนและคุณครู สามารถอ่านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
68100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 68,100.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณถัวเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน อย.น้อย และคุณครู มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารได้
2. นักเรียน อย.น้อย และคุณครู สามารถใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ได้อย่างถูกต้อง
3. นักเรียนและคุณครู สามารถอ่านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพได้
4. คุณครูและนักเรียนสามารถถ่ายทอดให้กับเพือนๆได้


>