กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วย 4 smart

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

ชมรมผู้สูงอายุอัศศิดดิกเทศบาลเทพา

เขตพื้นที่เทศบาล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผลจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนมากกว่าหลายๆปีที่ผ่านมาพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้วิถีชีวิต และการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ส่งผลให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเปลี่ยนไป เริ่มตั้งแต่การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมมาตั้งแต่วัยรุ่น วัยทำงาน การขาดการออกกำลังกาย ทำให้กลายเป็นผู้สูงอายุที่อายุยืน แต่มีภาวะของโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่า โรคหลอดเลือดสมอง และโรคสมองเสื่อม ฯลฯดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็น
การส่งเสริมสุขภาพแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแนวคิด 4 SMARTคือไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ได้แก่ 1.) Smart Walk ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อร่างกายที่แข็งแรง ไม่หกล้ม โดยผู้สูงอายุออกกำลังอายอย่างน้อย สัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที 2.) Smart Brain&Emotional ดูแลฝึกทักษะสมอง ส่งเสริมสุขภาพจิตและอารมณ์ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมในชมชรมผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุ รณรงค์ส่งเสริมพฤติการไม่สูบบุหรี่ 3.) Smart Sleep คือ นอนหลับอย่างเพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง และ 4.) Smart Eat กินอาหารตามหลักโภชนาการ ครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม เน้นผัก ผลไม้ เลือกอาหารที่โปรตีนคุณภาพสูง เช่น ปลาทะเล ซึ่งมีโอเมก้า 3 สูง ช่วยบำรุงประสาท สายตา และสมอง ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี เพื่อความสามารถในการบดเคี้ยวอาหาร มีฟันใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ 4 คู่สบ ตลอดจนการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ความรอบรู้
ชมรมผู้สูงอายุอัศศิดดิก เทศบาลตำบลเทพาเล็งเห็นว่าการที่ สมาชิกในชมรมรวมถึงผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคด้วยการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ความรอบรู้ การคัดกรองสุขภาพ การส่งเสริมให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี ผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี มีสุขภาพแข็งแรง จะสามารถยืดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือการเข้าสู่ภาวะทุพลภาพออกไป ผู้สูงอายุจะมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัว และสังคมได้อย่างมีความสุข เนื่องจากมีการเตรียมตัวที่ดีและพร้อม ยอมรับว่าเมื่อเข้าสู่ระยะวัยสูงอายุแล้ว กำลังร่างกาย จิตใจย่อมเปลี่ยนแปลง รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมและหน้าที่การงานที่เหมาะสม และพยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายใจ ที่ดีขึ้น คลายความรู้สึกหดหู่ และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อชุมชน ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน เพื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตชีวิตอยู่กับครอบครัวและบุตรหลานอย่างปกติสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสภาวะสุขภาพ ค้นหาภาวะเสี่ยงและส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

1.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสภาวะสุขภาพ ค้นหาภาวะเสี่ยงร้อยละ 70

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และป้องกันภาวะสมองเสื่อม ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึกเศร้า กินข้าวอร่อย

2.ผู้สูงอายุมีมีความรู้เรื่องส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และป้องกันภาวะสมองเสื่อม ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึกเศร้า กินข้าวอร่อย ร้อยละ 70

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลานตามสมควร
  1. ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามสภาพร้อยละ 90
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การประชุม คณะกรรมการจัดประชุม และจัดทำแผนการดำเนินงาน และประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
1. การประชุม คณะกรรมการจัดประชุม และจัดทำแผนการดำเนินงาน และประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 30 บ.x 16 คน x 2 ครั้ง                                              = 960 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
960.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมตรวจคัดกรองสภาวะสุขภาพ ค้นหาภาวะเสี่ยง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น/ตรวจสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมตรวจคัดกรองสภาวะสุขภาพ ค้นหาภาวะเสี่ยง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น/ตรวจสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง 30 บ.x60 คน x 1 ครั้ง  = 1,800 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วย 4 smart (ไม่ล้ม,ไม่ลืม,ไม่ซึมเศร้า,กินข้าวอร่อย)

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วย 4 smart (ไม่ล้ม,ไม่ลืม,ไม่ซึมเศร้า,กินข้าวอร่อย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาด 1.5 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย    =600 บาท
  • เอกสารความรู้เรื่อง4 smart (ไม่ล้ม,ไม่ลืม,ไม่ซึมเศร้า,กินข้าวอร่อย) 100 ชุด x 10 บาท =1,000 บาท
  • ค่าวิทยากร  6  ชั่วโมง ×  600 บาท = 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 30 บ.x60 คน x 2 มื้อ ครั้ง  = 3,600 บ.
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 บ.x60 คน x 1 ครั้ง  = 4,200 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุในชมรมมีสุขภาวะดีสมวัย
2. ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลานตามสมควร
3. ลดภาวะผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
4. สมาชิกชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าร้อยละ 70


>