กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเต่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองเต่า

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเต่าใต้

นายบุญส่ง ฟักทองมาก และคณะ

ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 , 3 , 5 , 6 , 7 , 8 และ 9 ต.หนองเต่า อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

 

70.00

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ประชาชนต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดในสังคมจนบางครั้งลืมนึกถึงสภาวะสุขภาพ ทำให้การเกิดโรคต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปจากโรคติดต่อเป็นโรคไม่ติดต่อ และจากโรคติดต่อที่ไม่มีความรุนแรงหรือไม่มีภาวะแทรกช้อนเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น หรือเรียกว่าโรคติดต่ออุบัตีใหม่ โรคติดต่ออุบัติซ้ำ นั่นเองโรคติดต่ออุบัติใหม่ หมายถึงโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในมนุษย์ เป็นโรคติดเชื้อชนิดใหม่ รวมถึงโรคติดต่ออุบัติซ้ำ ซึ่งก็คือโรคติดต่อจากเชื้อโรคที่เคยแพร่ระบาดในอดีต และสงบไปหลายปีแล้วกลับมาระบาดขึ้นใหม่ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ โรคติดเชื้อมือ เท้า ปาก , โรคไข้เลือดออก , โรคติดเชื้อไวรัสชิกา , ไวรัสเมอร์ส , โรคชาร์ส , โรคไข้หวัดนก , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เป็นต้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเต่าใต้ ได้ตระหนักถึงปัญหาโรคติดต่อที่มีผลกระทบต่อประชาชนในด้านต่างๆ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนคนในชุมชนที่สามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้

ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

70.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งรังโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งรังโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1. รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งรังโรค 2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และประชุมวางแผนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก แก่ทีมแกนนำสุขภาพ จำนวน 120 คน ก่อนลงพื้นที่สำรวจและทำลาย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง (ห่างกัน 3 เดือน หรือ ทุกๆ 3 เดือน) , 3. ติดป้ายประชาสัมพันธ์กระตุ้นเตือนให้ความตระหนักในชุมชน หมู่ละ 1 ป้าย รวม 7 ป้าย งบประมาณ จำนวน 45,900.00 บาท รายละเอียด ดังนี้ - ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน 3,150.00 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 12,600.00 บาท - ค่าวัสดุ เป็นเงิน 6,650.00 บาท - ค่าวัสดุ เป็นเงิน 8,750.00 บาท - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 3,500.00 บาท - ค่าวัสดุ เป็นเงิน 5,250.00 บาท - ค่าเบี้ยเลี้ยง เป็นเงิน 6,000.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพ จำนวน 120 คน และประชาชนใน 7 หมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลหนองเต่า มีทักษะ และศักยภาพในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

มีภาคีเครือข่ายการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่อย่างเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ


>