กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 6 บ้านกาลูบี ตำบลบ้านควน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มรักษ์และห่วงใยสุขภาพบ้านกาลูบี

1.นางสาวฝาตีมะ มะอะนี เบอร์โทรศัพท์ 08-9465-7284
2.นางรามาวดี อาดำ เบอร์โทรศัพท์ 09-5039-4621
3.นางสาวสาลีณี หลงกูนัน เบอร์โทรศัพท์ 08-1429-0281
4.นางสาวเจ๊ะสาณี การังงัน เบอร์โทรศัพท์ 06-2912-1046
5.นางสาวรอณา ดาหลี เบอร์โทรศัพท์ 08-2632-900

ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

35.00

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยที่พบว่ามีการเกิดโรคเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มการเกิดโรคกับประชาชนทุกกลุ่มอายุ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นไม่ถูกต้องแล้ว อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและอาจเสียชีวิตได้ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง จากสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก ข้อมูลระบาดวิทยาอำเภอเมืองสตูล (วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2567) พบว่าในพื้นที่ตำบลบ้านควนยังไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก แต่มีตำบลที่มีพื้นที่อยู่ติดกับตำบลบ้านควนที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วหลายรายจากสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกมักเกิดจากสภาวะแวดล้อมของชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค เช่น มีน้ำขังตามแอ่งและภาชนะต่างๆที่ใช้และไม่ใช้ในครัวเรือน โรงเรียน มัสยิด และสถานที่ต่างๆ ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ยุงลายสามารถวางไข่เติบโตเป็นตัวแก่ อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน หากยุงลายตัวใดมีเชื้อไข้เลือดออก กัดบุคคลในครัวเรือนเข้าก็ปล่อยเชื้อและเกิดเป็นไข้เลือดออกในเวลาต่อมา
กลุ่มรักษ์และห่วงใยสุขภาพบ้านกาลูบีจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 6 บ้านกาลูบี ตำบลบ้านควนขึ้น เพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนตระหนัก และร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

35.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้แก่แกนนำในพื้นที่ จำนวน 30 คน
2.จัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
กำหนดการกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
เวลา 08.30 น. –09.00 น. - ลงทะเบียน
เวลา 09.00 น. –09.30 น. - พิธีเปิดการอบรมโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
เวลา 09.30 น. –10.30 น. - สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก อันตรายและผลกระทบจากโรคไข้เลือดออก
เวลา 10.30 น. –12.00 น. - บรรยายเรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
เวลา 12.00 น. – 13.00 น. -พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น. – 14.00 น. -การจัดทำสื่อรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
เวลา 14.00-15.00 น. - วางแผนการจัดกิจกรรมรณรงค์และจัดทำสื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
เวลา 15.00 น.- ปิดโครงการ
* หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 – 10.45 น. และ 14.00 – 14.15 น

งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวัน กิจกรรมอบรมให้ความรู้ฯ สำหรับกลุ่มเป้าหมาย วิทยากร และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน ๆละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกิจกรรมอบรมให้ความรู้ฯ สำหรับกลุ่มเป้าหมาย วิทยากร และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน ๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2567 ถึง 7 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออก
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดกิจกรรมรณรงค์ฯ จำนวน 60 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2.ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ (ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าพริ้นรูป )เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร(ตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข)


>