กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโพทะเล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโพทะเล

ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลโพทะเล โรงพยาบาลโพทะเล

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพทะเล และคณะ

เขตพื้นที่รับผิดชอบในเขตเทศบาลตำบลโพทะเล จำนวน 5 ชุมชน ห้องประชุมเทศบาลตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต เท้า โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลื

 

0.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพตำบลโพทะเลสามารถใช้กระบวนการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผ่านระบบ Google Form ได้อย่างถูกต้องตามแบบฟอร์ม

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้เข้าถึงการตรวจสุขภาพคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 300
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นตอนการเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำแผนสุขภาพตำบล 2.เสนอโครงการเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเทศบาลตำบลโพทะเล
3.จัดซื้อครุภัณฑ์การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพื่อใช้ในการฝึกอบรมและตรวจคัดกรองฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.แกนนำสุขภาพตำบลโพทะเลประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อรับการตรวจคัดกรองโรคความ ดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานพร้อมสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจรับการตรวจคัดกรองฯ 2.จัดทำทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจในการตรวจคัดกรองฯ 3.อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูความรู้ให้แก่แกนนำสุขภาพตำบลโพทะเล 3.1 ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 3.2 ให้ความรู้เรื่องการคัดกรองโรคซึมเศร้าและการคัดกรองพฤติกรรมสุขภาพ 3.3 ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต และเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด (DTX) 3.4 ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีในการส่งรายงานผล (Google Form) 4.แกนนำสุขภาพตำบลโพทะเลลงพื้นที่คัดกรองด้วยแบบคัดกรองภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพผ่านระบบGoogle Formดังนี้ 4.1 การตรวจร่างกายทั่วไป (ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว) 4.2 วัดความดันโลหิต 4.3 เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อหาระดับน้ำในเลือด (DTX) 4.4 คัดกรองโรคซึมเศร้า 4.5 คัดกรองพฤติกรรมสุขภาพ 5.แกนนำสุขภาพตำบลโพทะเลคืนข้อมูลผลการคัดกรองผ่านระบบ Google Form 6.เจ้าหน้าที่รวบรวมผลการคัดกรองและแบ่งตามกลุ่ม ได้แก่ 6.1 กลุ่มปกติ 6.2 กลุ่มเสี่ยง 6.3 กลุ่มป่วย
7.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยวิธี 3อ. 2ส. ให้แก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 8.ติดตามกลุ่มเสี่ยงหลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน โดยรายงาน ผลการติดตามผ่านระบบ Google Form รายละเอียดมี ดังนี้ 8.1 การตรวจร่างกายทั่วไป (ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว) 8.2 วัดความดันโลหิต 8.3 เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อหาระดับน้ำในเลือด (DTX) 8.4 การคัดกรองพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. 8.5 วัดความเค็มและหวานในอาหารของกลุ่มเสี่ยง 9.สรุปผลการติดตาม

งบประมาณ
1.ครุภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ - ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เป็นเงิน 15,000 บาท จำนวน 6 เครื่อง ๆ ละ 2,500 บาท
- ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล เป็นเงิน 5,000 บาท จำนวน 5 เครื่อง ๆ ละ 1,000 บาท
- ค่าเครื่องวัดความเค็ม เป็นเงิน 1,000 บาท จำนวน 1 เครื่อง ๆ ละ 1,000 บาท
- ค่าเครื่องวัดความหวาน เป็นเงิน 2,999 บาท จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 2,999 บาท
2.กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟูความรู้แกนนำสุขภาพตำบลโพทะเล - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน ๆ ละ 60 บาทต่อมื้อจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน4,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน ๆ ละ 30 บาทต่อมื้อจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน4,200 บาท 3.กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยวิธี 3อ. 2ส. ให้แก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง - ค่าสมนาคุณวิทยากร (บุคลากรไม่ใช่บุคลากรของรัฐ) บรรยายจำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาทต่อมื้อจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน3,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 30 บาทต่อมื้อจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45599.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นตอนการประเมินผล 1.รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการประเมินผล 1.รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,599.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชน 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 90
2. แกนนำสุขภาพตำบลโพทะเลใช้กระบวนการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพผ่านระบบ Google Form ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 95
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 100
4. ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลงร้อยละ 80
5. ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงร้อยละ 80


>