กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงด้วยวิธี Fit Test ปีงบประมาณ2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

-

ม.3 และ ม.6 ต.กาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชากรกลุ่มเสี่ยง อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test) ร้อยละ 60

 

60.00
2 ประชาชนที่ได้ตรวจคัดกรองด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test) ผลเป็นบวกได้รับการส่งต่อเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colonoscopy) ร้อยละ 75

 

60.00

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ลำไส้ตรง (Colorectal cancer; CRC) ในประเทศไทย มะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงถือเป็นหนึ่งใน 5 ของมะเร็งที่พบมากที่สุดทั้งในเพศชายและ เพศหญิงโดยจากข้อมูลรายงานอุบัติการณ์ประจำปีของมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงในประชากรไทยล่าสุด (ปี พ.ศ 2563-2565) พบว่า เป็นมะเร็งที่พบมากอันดับสามในเพศชาย และพบมากเป็นอันดับสี่ในเพศหญิง ส่วนในรายงาน อุบัติการณ์ผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในปี พ.ศ. 2566 พบในเพศชายเป็นอันดับ 1 ( 275 ราย คิดเป็น 17.2%) และเป็นอันดับ 3 ในเพศหญิง (208 ราย คิดเป็น 8.78%)(ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล, 2566)อุบัติการณ์ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
จากสถานการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอดีตที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องมาจาก พฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร บางประเภทมาก หรือน้อยเกินไป เช่น การบริโภคเนื้อแดง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ และบริโภคอาหารที่มีกากใยน้อยลง (สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง ทั้งสิ้น การทดสอบเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงในระยะเริ่มแรกที่นิยมปฏิบัติมี หลากหลายวิธี และในจำนวนการทดสอบ (test) ทั้งหมดการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง (Fecal immunochemical test) Fit test สามารถช่วยลดอัตราตายจากมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้ เนื่องจากมีการตรวจพบความผิดปกติของมะเร็งในระยะเริ่มต้นก่อน ทำให้สามารถดำเนินการรักษาได้ทันก่อนพัฒนาไปสู่มะเร็งเต็มขั้น
จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงด้วยวิธี Fit Testของรพ.สต.บ้านลูโบ๊ะปันยัง 3 ปีที่ผ่านมาดังนี้ ปีงบประมาณ2564 คัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 50- 70 ปี จำนวน 60 ราย เจอผลผิดปกติ 2 รายคิดเป็นร้อยละ 3.33 ทั้ง 2 รายปฏิเสธการรักษา
ปีงบประมาณ 2565 คัดกรองมะเร็งลำไส้ 134 ราย เจอผลผิดปกติ 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.46 ปฏิเสธการรักษา 5 ราย ได้รับการส่งต่อส่องกล้อง 5 ราย ผลส่องกล้องปกติ 4 ราย ผลเจอเชื้อมะเร็งลำไส้ใหญ่ 1 รายได้รับการรักษาต่อเนื่องรพ.ศูนย์ยะลา
ปีงบประมาณ 2566 คัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยง 80 ราย เจอผลผิดปกติ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.5 ทั้ง
2 รายปฏิเสธการรักษา จากการดำเนินงานที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ประชากรกลุ่มเสี่ยงผล Fit Test Positiveมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และประชากรกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ยังปฏิเสธการรักษา อาจจะเกิดจากการได้รับข้อมูลการรักษาที่ไม่ถูกต้อง กลัว กังวลกับการรักษาเป็นต้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี Fit Test ขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ประชากรกลุ่มอายุ 50-70 ปีจำนวน 804 คนเข้าถึงการตรวจคัดกรอง ด้วยวิธีการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ(Fecal immunochemical test) อย่างน้อยร้อยละ 60 และถ้าผลการตรวจเป็นบวกจะทำการยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ประชากรกลุ่มเสี่ยง อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test)

ประชากรกลุ่มเสี่ยง อายุ 50-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal immunochemical test) ร้อยละ 60

60.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมย่อยที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติจำลองสถานการณ์การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อยที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติจำลองสถานการณ์การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ดำเนินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามขั้นตอน
- หลักสูตรบรรยาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 4 ชั่วโมง - หลักสูตรสาธิต และฝึกปฏิบัติจำนวน 1 ชั่วโมง หลักสูตรบรรยาย หัวข้อย่อย จำนวน 3 ชั่วโมงดังนี้ -มะเร็งลำไส้ กลไกการเกิดมะเร็งลำไส้ 1 ชั่วโมง -วิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้1 ชั่วโมง -ฟังคำบอกเล่าจากเคสตัวอย่างมะเร็งลำไส้1 ชั่วโมง หลักสูตรสาธิต และ ฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 ชั่วโมงดังนี้ -สาธิต และ สอนขั้นตอนการตรวจ Fit test ส่องกล้องกรณีผล Positive2 ชั่วโมง กลุ่มเป้าหมาย - แกนนำมะเร็ง หมู่ 3 ต.กาบัง จำนวน 14 คน - แกนนำมะเร็ง หมู่ 6 ตำบลกาบัง จำนวน 6 คน - ป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.53 เมตร เป็นเงิน 1,125 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ (ป้ายไวนิล) ขนาด 23 เมตร (ตารางเมตรละ 250 บาท)* 4 ผืนเป็นเงิน 6,000บาท - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มจำนวน 20คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาทเป็นเงิน 1,400บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คนๆ ละ 70 บาทเป็นเงิน 1,400บาท - ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชม.ๆ ละ 600 บาท* 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
รวมงบประมาณ 12,925 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำมะเร็งมีความรู้ ความเข้าใจ ภาวะเสี่ยงการก่อเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง สามารถใช้แทบตรวจ Fit test ได้ถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้
  2. เป้าหมายกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้รับการตรวจคัดกรอง Fit Test
  3. เป้าหมายกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงที่มีผลตรวจ Positive ได้รับการส่งต่อเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colonoscopy)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12925.00

กิจกรรมที่ 2 2.1 กิจกรรมย่อยที่ 2 แกนนำมะเร็งลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเป้าหมายประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 50-70 ปี สอนการตรวจ และติดตามผล Fit Test พร้อมส่งต่อเคสกรณีเจอความผิดปกติให้เจ้าหน้าที่รพ.สต. - สำหรับรายที่ผิดปกติ นัดมาฟังผลที่รพ.สต.โดยเจ้าหน้าที่อีกครั้งพร้อมอธิบายขั้

ชื่อกิจกรรม
2.1 กิจกรรมย่อยที่ 2 แกนนำมะเร็งลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเป้าหมายประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 50-70 ปี สอนการตรวจ และติดตามผล Fit Test พร้อมส่งต่อเคสกรณีเจอความผิดปกติให้เจ้าหน้าที่รพ.สต. - สำหรับรายที่ผิดปกติ นัดมาฟังผลที่รพ.สต.โดยเจ้าหน้าที่อีกครั้งพร้อมอธิบายขั้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อยที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติจำลองสถานการณ์การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
กลุ่มเป้าหมาย -  ประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 50- 70 ปี ในพื้นที่ หมู่3 และหมู่ 6 ต.กาบัง จำนวน 150 คน แบ่งเป็น 2 วัน

  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มจำนวน 75 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท * 2 วัน  เป็นเงิน 10,500  บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 75 คนๆ ละ 70 บาท * 2 วัน                   เป็นเงิน 10,500 บาท
    • ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชม.ๆ ละ 600 บาท* 2 วัน              เป็นเงิน   6,000  บาท

            รวมงบประมาณ 27,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำมะเร็งมีความรู้ ความเข้าใจ ภาวะเสี่ยงการก่อเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง สามารถใช้แทบตรวจ Fit test ได้ถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้
  2. เป้าหมายกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้รับการตรวจคัดกรอง Fit Test
  3. เป้าหมายกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงที่มีผลตรวจ Positive ได้รับการส่งต่อเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colonoscopy)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,925.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำมะเร็งมีความรู้ ความเข้าใจ ภาวะเสี่ยงการก่อเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง สามารถใช้แทบตรวจ Fit test ได้ถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้
2. เป้าหมายกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงได้รับการตรวจคัดกรอง Fit Test
3. เป้าหมายกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงที่มีผลตรวจ Positive ได้รับการส่งต่อเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่/ไส้ตรง (Colonoscopy)


>