กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี

หมู่ ..8.... ตำบลตลิ่งชันอำเภอบันนังสตาจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี การควบคุมโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลงที่กำหนดไว้ในนโยบายระดับชาติ สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากระบบเฝ้าระวังโรค (รง.506) ในอำเภอบันนังสตาเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562-2566 อัตราป่วย 573.4 , 136.52 , 16.42 , 35.85 ,475.46 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบันนังสตา ,2566) จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกคาดการณ์อาจจะมีการระบาดต่อเนื่องในปี 2567
ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มี 13 หมู่บ้าน พบว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออกปี 2566 จำนวน 84 ราย สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านตะบิงติงงี ตำบลตลิ่งชัน รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 หมู่ 8, หมู่ 11 และหมู่ 13 พบผู้ป่วยทุกๆปี ตั้งแต่ปี 2562 - 2566 พบว่า มีอัตราป่วย 669.31 ,250.20 ,0.00 ,123.86,511.07 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ(สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบันนังสตา, ,2566) พบว่า ปี2566 อุบัติการณ์สูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง จึงมีโอกาสที่ในปี 2567 จะเกิดการระบาดมากขึ้น
ดังนั้นทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี ได้เล็งเห็นถึงเป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อให้ไม่ให้เกิดการระบาดในพื้นที่ และสอดคล้องยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตามกลวิธีเมืองน่าอยู่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกประชากรทุกกลุ่มวัย

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก      ลดลงร้อยละ 15 จากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พ่นหมอกควันในพื้นที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควันในพื้นที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ค่าจ้างพ่นหมอกควัน จำนวน 2 คน x 300 บาท x 14 วัน เป็นเงิน 8,400 บาท 2 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อใช้ในการพ่นหมอกควัน -น้ำมันดีเซลจำนวน 240 ลิตร X 30.39 บาทเป็นเงิน7,293.60 บาท -น้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 110 ลิตร X 38.70 บาทเป็นเงิน4,257บาท หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยจำนวนลิตรและราคาลิตรต่อลิตร ณ.วันดำเนินการจัดซื้อราคาน้ำมัน
: ราคาน้ำมัน ณ.วันที่ 19 มีนาคม 2567

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เขตพื้นที่ได้รับการพ่นหมอกควัน และพ่นสารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19950.60

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,950.60 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง จากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง ร้อยละ 15


>