กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ตรวจสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกรปี 2567 ของ รพ.สต.บ้านโตระ ตำบลตำนาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ

หมู่บ้านในความรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

5.00
2 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

1.50

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อยแต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัดท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบรวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมีการสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศและการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อนพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่นใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึมฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้า ที่ซึมเปื้อนทันทีเป็นต้นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่นโรคมะเร็งโรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น ประชากรในเขตพื้นที่ตำบลตำนาน และเขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนา ปลูกผัก ทำสวนผลไม้และสวนยางพาราผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกร ในตำบลตำนานจึงได้จัดทำโครงการตรวจสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลตำนานได้รับการอบรมฯ และการตรวจสารพิษตกค้างในเลือดได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

1.50 2.00
2 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

5.00 3.00

1. เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่มีผลต่อสุขภาพ
2 เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง
3 เพื่อให้เกษตรกรที่เสี่ยง ตรวจซ้ำ ครั้งที่ 2

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม ให้ความรู้เกษตรกรในการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้และป้องกันสารเคมีที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ให้ความรู้เกษตรกรในการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้และป้องกันสารเคมีที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เกษตรกรในการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้และป้องกันสารเคมีที่ถูกต้องโดยมีงบประมาณ ดังนี้

1 ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม มื้อละ 25 บาท จำนวน 1มื้อ จำนวน300 คนเป็นเงิน 7,500บาท

2. ค่าวิทยากรให้ความรู้ฯ จำนวน 1 คนๆ ละ300 บาทต่อหมู่บ้าน จำนวน7 หมู่บ้านเป็นเงิน 2,100บาท

3 ค่าเอกสารแผ่นพับความรู้/หนังสือเชิญ/แจ้งผล เป็นเงิน 2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรทราและเข้าใจการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้และป้องกันสารเคมีที่ถูกต้องจำนวน 300 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกร  ครั้งที่ 1  โดยมีงบประมาณ ดังนี้
1 ค่าวัสดุกระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรส จำนวน  6 กล่อง  กล่องละ 100 แผ่น  ราคากล่องละ 950 บาท       เป็นเงิน    5,700  บาท

2 ค่าวัสดุหลอดฮีมาโตรคลิตจำนวน  6 กล่อง กล่องละ 100 แผ่น ราคากล่องละ 150 บาท                                         เป็นเงิน      900  บาท

3 ค่าวัสดุเข็มเจาะเลือด จำนวน 3 กล่องๆละ 200 ชิ้นราคากล่อง ละ 750 บาท                                            เป็นเงิน   2,250  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรครั้งที่ 1จำนวน 300 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8850.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกร ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกร ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกร  ครั้งที่ 2  โดยไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกร  ครั้งที่ 2  จำนวน 300 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,450.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 เกษตรกรเกิดความรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง

2 เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ และวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง


>