กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพับผ้า (ตาเอียด)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพับผ้า (ตาเอียด)

หมู่ 5 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันคุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่มักจะผลักดันให้เด็กฝึกการเขียนในขณะที่เด็กยังไม่พร้อมและกล้ามเนื้อเล็กยังไม่พัฒนาดีเท่าที่ควร ทำให้เด็กเกิดความเครียดและไม่มีความสุขในการเขียนและการเรียนอาจส่งผลลบต่อการเรียนรู้ในอนาคตต่อไปด้วย ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพับผ้า (ตาเอียด) จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กเพื่อให้ประสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมือกับตา ตลอดจนการควบคุมกล้ามเนื้อมือและแขน ทำให้เด็กมีความสามารถในการหยิบจับสิ่งต่างๆได้อย่างมั่นคง
กล้ามเนื้อมัดเล็ก หมายถึง การใช้มือในการหยิบจับสิ่งของ ตุ๊กตา ของเล่น การดึง การกด การหยอดบล็อก ตลอดจนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และการช่วยเหลือตนเอง เช่น การติดกระดุม การผูกเชือกรองเท้าการเทน้ำใส่แก้ว การอาบน้ำแปรงฟัน การจับช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร เป็นต้น การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กต้องเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมือและตาให้ทำงานสัมพันธ์กัน ดังนั้นการจัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กให้กับเด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ
จากที่ครูได้สังเกตพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพับผ้า (ตาเอียด) ทั้งหมด จำนวน 22 คน พบว่า มีเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 45.46 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพับผ้า (ตาเอียด) จึงได้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพับผ้า (ตาเอียด) เพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองและครูในการสังเกตพัฒนาการที่ล่าช้าของบุตรหลาน โดยการสังเกตพัฒนาการจากข้อมูลของชุดตรวจพัฒนาการ (DSPM) การส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ถูกต้องและถูกวิธีได้เหมาะสมตามวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมือของเด็กปฐมวัยให้สัมพันธ์กับประสาทตา

เด็กปฐมวัย ร้อยละ ๙๐ สามารถใช้กล้ามเนื้อมือสัมพันธ์กับประสาทตาได้

0.00
2 เพื่อวางรากฐานในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในชีวิตประจำวัน

เด็กปฐมวัย ร้อยละ ๙๐ สามารถใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

0.00
3 เพื่อให้เด็กได้มีความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น

เด็กปฐมวัย ร้อยละ ๙๐ มีความพร้อมด้านการใช้กล้ามเนื้อมือสำหรับการเรียนระดับต่อไป

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 22
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก (ผู้ปกครอง/ครู 25 คน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก (ผู้ปกครอง/ครู 25 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1)  ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ 1 ป้าย (ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.)  เป็นเงิน    ๑,๐๐๐ บาท 2)  ค่าตอบแทนวิทยากร (2 คน x 6 ชม.x 300 บาท)        เป็นเงิน  3,600 บาท
3)  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (25 คน × 2 มื้อ x 25 บาท)    เป็นเงิน  1,250 บาท 4)  ค่าอาหารกลางวัน (25 คน x 1 มื้อ x 50 บาท)      เป็นเงิน  1,250 บาท 5)  ค่าวัสดุประกอบการอบรม (25 ชุด x 25 บาท)    เป็นเงิน     625 บาท 6)  คู่มือประกอบการอบรม (25 ชุด x 30 บาท)      เป็นเงิน     750 บาท 7)  ค่ากระเป๋าเอกสารประกอบการอบรม (25 ใบ x 80 บาท)  เป็นเงิน  1,250 บาท 8)  ค่าวัสดุผลิตแป้งโด                     เป็นเงิน     680 บาท 9)  ค่าชุดประเมินพัฒนาการสำหรับเด็ก อายุ 2 – 5 ปี  (1 ชุด x 4,000 บาท) เป็นเงิน  4,0๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14405.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,405.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) เด็กปฐมวัยมีพัฒนาความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมือของเด็กปฐมวัยให้สัมพันธ์กับประสาทตา
2) เด็กปฐมวัยสามารถใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในชีวิตประจำวันได้
3) เด็กปฐมวัยมีความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น


>