กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนในโรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ ๖

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ ๖

หมู่ ๑๐ ตำบลตลิ่งชันอำเภอบันนังสตาจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาชาติที่สำคัญ คือการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจตลอด จนมีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุด อันจะเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อันดับแรกของการพัฒนาคนคือ การพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนต่อไป
โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ ๖ เป็นโรงเรียนที่เปิดทำการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๑ – ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น ๙๕ คน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ มีฐานะยากจน มีความขาดแคลน เป็นนักเรียนด้อยโอกาส และร่างกายเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานซึ่งจากข้อมูลนักเรียนที่มีน้ำหนักส่วนสูงเทียบเกณฑ์มาตรฐาน ประจำเดือนธันวาคม สรุปได้ดังนี้
๑.) น้ำหนักต่อส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์และส่วนสูงต่ออายุต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอม) จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 7.93
๒.) ส่วนสูงต่ออายุต่ำกว่าเกณฑ์ (เตี้ย) จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 15.78
จากข้อมูลข้างต้น โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ ๖ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมนักเรียนที่มีภาวะ ทุพโภชนาการ โดยการจัดอาหารเช้าเพิ่มเติมให้กับนักเรียนที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ผอมและเตี้ย จำนวน๒๒ คนในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖ และภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๗ เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมส่วนตามเกณฑ์มาตรฐาน และสุขภาพอนามัยที่ดี มีความพร้อมที่จะได้รับการพัฒนาให้เป็นคนที่มีคุณภาพต่อไป โดยโรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ ๖ จะมีการติดตามภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนเป็นระยะๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

ร้อยละ 80 ของนักเรียน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง สมส่วน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 22
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดซื้ออาหารเสริมแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดซื้ออาหารเสริมแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.๑ ค่าอาหารเช้าภาคเรียนที่ 1/๒๕๖7(๒๐ บาท x ๒๒ คน x 45 วัน)  เป็นเงิน ๑9,8๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าครบ5หมู่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามการเจริญเติบโตของนัเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามการเจริญเติบโตของนัเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามการเจริญเติบโตของนัเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ทราบพัฒนาการของเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับอาหารเช้าทุกวัน
๒. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง สมส่วน
๓.นักเรียนมึความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ
๔. นักเรียนได้รับการติดตามผลภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง


>