กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสติดและการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชนสุไหงอุเปประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

คณะกรรมการชุมชนสุไหงอุเป

1.นายดุสิตขุนยะระ
2.นายรอตันสมัยอยู่
3. นายอดุลย์เหาะหาด
4.นางวรรณาเจิญฤทธิ์
5. นางวัญเพ็ญเกษม

ณ ท่าเทียบเรือสุไหงอุเป

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่ชุมชนสุไหงอุเป ยังพบว่ายังมีการแพร่ระบาดของยาเสพติด จากการสำรวจพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดและผู้เสพยาเสพติดมากขึ้นจากเดิม ที่ผู้เสพ ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงของวัยรุ่นและวัยทำงาน จึงเห็นได้ว่าปัญหายาเสพติดได้มีการแพร่ระบาดมากยิ่งขึ้นและหนักขึ้นมีจำนวนผู้เสี่ยงที่มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดวงกว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ชุมชนสุไหงอุเป จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติดและการป้องกันยาเสพติดในชุมชนสุไหงอุเป ประจำปีงบประมาณ2567เพื่อให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมกิจกรรมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติดอีกด้วย ดังนั้น ชุมชนสุไหงอุเป ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติดและการป้องกันยาเสพติดในชุมชนสุไหงอุเป ประจำปีงบประมาณ2567ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของ ยาเสพติดแก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนสุไหงอุเปและเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1.ร้อยละ 80 เด็ก เยาวชนและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

100.00 100.00
2 2.เพื่อเฝ้าระวังการแพร่กระจายของยาเสพติดสู่ชุมชน และป้องกันยาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาล

ร้อยละ  80  เด็ก เยาวชนและประชาชน นำความรู้ประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชน

100.00 100.00
3 3.เพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ร้อยละ 80  เด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้าสู่ชมุชน

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่องโทษ ป้องกันและเเก้ไขปัญหายาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่องโทษ ป้องกันและเเก้ไขปัญหายาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ธีดำเนินการ ขั้นตอนวางแผนงาน
1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะกรรมการชุมชนสุไหงอุเป เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 1.2 จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า 2. ขั้นดำเนินงาน 2.1 ประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติดและการป้องกันยาเสพติดในชุมชนสุไหงอุเป ประจำปีงบประมาณ๒๕๖๗ 2.2 ดำเนินการตามแผน 3. กิจกรรมที่จะดำเนินงานตามโครงการ 3.1จัดอบรมให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชนประชาชน ในเขตชุมชนสุไหงอุเป 3.2. ติดตามประเมินผล โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ 3.3 สรุปและรายงานผลภายใน 30 วัน หลังจากเสร็จโครงการฯ กิจกรรมหลัก - อบรมให้ความรู้เรื่อง โทษ ป้องกันและแก้ไขปัญหาของยาเสพติด -กิจกรรมแบ่งกลุ่มเรื่องโทษ การป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแนวทางมุสลิม รายละเอียดงบประมาณ 1.ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 2 คนๆละ 3 ช.ม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆละ 35 บาทจำนวน 2 มื้อ
เป็นเงิน 4,900 บาท 4.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1.25 x 2.4 ม. เป็นเงิน 450บาท 5.ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ
5.1 แผ่นพับประชาสัมพันธ์ยาเสพติดจำนวน 160 แผ่นๆละ 4 บาท เป็นเงิน 640 บาท
5.2 กระดาษบรู๊พ จำนวน 12 แผ่นๆละ 5 บาทเป็นเงิน 60 บาท 5.3 ปากกาเคมี จำนวน ๒๐ ด้ามๆละ ๑๕ บาท เป็นเงิน 300 บาท
5.4 ซองพลาสติก จำนวน 70 ใบ ๆละ 25 บาทเป็นเงิน 1,750 บาท 5.5 ปากกา จำนวน 70 ด้าม ๆละ 10 บาทเป็นเงิน700 บาท 5.6 สมุดจำนวน 70 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 700 บาท
6.ค่าเช่าเครื่องเสียงเป็นเงิน1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19,000.-บาท (-เงินหนึ่งหมื่นเก้าพันบาทถ้วน ) หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
2. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้แก่ตนเองและครอบครัว ตลอดจนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
3.กลุ่มเป้าหมายได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ในการเฝ้าระวังไม่ให้ยาเสพติดระบาดเข้าสู่ชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
2. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้แก่ตนเองและครอบครัว ตลอดจนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
3.กลุ่มเป้าหมายได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ในการเฝ้าระวังไม่ให้ยาเสพติดระบาดเข้าสู่ชุมชน


>