กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยตำบลกะลุวอ ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิตขาดความรู้ความเข้าใจเรีองศาสตร์การแพทย์แผนไทย

 

20.00

จากสภาพสังคมในยุคปัจจุบันต่างมีความเป็นอยู่ที่ต้องเร่งรีบ แข่งขันสูง เผชิญกับความกดดันในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สาเหตุของปัญหาที่มาจากสถาบันครอบครัว เพื่อน หรือองค์กรที่ทำงาน ก่อให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวลใจ เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ แยกตัวออกจากสังคม การลาออกจากงานรายได้จึงลดลง ส่งผลต่อสุขภาพจิตที่เสื่อม นำไปสู่การเจ็บป่วยที่ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ จะยิ่งส่งเสริมให้มีภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ศาสคร์การแพทย์แผนไทย เป็นศาสตร์ที่มีการดูแลแบบองค์รวม ได้แก่ กาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ สอดคล้องกับการสุขภาวะ ซึ่่งให้ความหมายว่า ภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและปัญญาเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล การดูแลสุขภาพและการบำบัดรักษาโรคทั้งทางกายและใจต้องควบคู่พร้อมกัน ถือเป็นหัวใจหลักของการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีสุขภาวะที่ดี จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแผนไทยให้กับประชาชน เพื่อเป็็นประโยชน์ในการส่งเสริมความรู้ บอกเล่าต่อกัน สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแก่ประชาชนที่มีความเสี่ยง

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 80

20.00 50.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจการมีสุขภาวะที่ดี มากกว่าร้อยละ 80

20.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องสุขภาวะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องสุขภาวะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเรื่องสุขภาวะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย จำนวน 50 คน ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2500 บาท ค่าไวนิล ขนาด 1x2 เมตร จำนวนเงิน 500 บาท ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนๆละ 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1800 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ 390 บาท ดังนี้ ค่าเอกสารความรู้ 50 ชุด ชุดละ 2 บาท เป็นเงิน 100 บาท ค่ากะละมัง 10 ใบ ใบละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท ค่าถุงมือพลาสติก 2 แพ็ค แพ็คละ 20 บาท เป็นเงิน 40 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7690.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสมุนไพรใกล้ตัวในการดูแลตนเอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสมุนไพรใกล้ตัวในการดูแลตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสมุนไพรใกล้ตัวในการดูแลตนเอง 1.กิจกรรมทำยาดมสมุนไพรในกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ 6,461 บาท ดังนี้ โป๊ยกั๊ก 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 568 บาท กานพลู 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 730 บาท อบเชยเทศ 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 348 บาท พริกไทย 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 415 บาท โกฐจุฬาลัมพา 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 315 บาท ดอกจันทร์ 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 985 บาท การบูร 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 570 บาท พิมเสน 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 980 บาท
เมนทอล 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 980 บาท กระปุกใส่ยาดม ขนาด 20 กรัม เป็นเงิน 460 บาท ผ้าตาข่าย 2 หลา เป็นเงิน 110 บาท 2.กิจกรรมทำสมุนไพรลูกประคบในกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ 3277 บาท ดังนี้ ผิวมะกรูด 5 กิโลกรัมๆ ละ 125 บาท เป็นเงิน 625 บาท ไพล 5 กิโลกรัมๆ ละ 135 บาท เป็นเงิน 675 บาท ขมิ้นชัน 4 กิโลกรัมๆ ละ 160 บาท เป็นเงิน 640 บาท ตะไคร้ 4 กิโลกรัมๆ ละ 115 บาท เป็นเงิน 460 บาท ใบมะขาม 4 กิโลกรัมๆ ละ 108 บาท เป็นเงิน 432 บาท เกลือ 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 35 บาท ผ้าดิบขาว 8 หลา หลาละ 45 บาท เป็นเงิน 360 บาท เชือกผูกลูกประคบ 5 ม้วน เป็นเงิน 50 บาท รวมทั้งสิ้น 9,738 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายรู้จักใช้สมุนไพรรอบตัวมาดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9738.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,428.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถนำสมุนไพรใกล้ตัวในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
2.กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ต่อยอดสร้างอาชีพได้
3.กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงการเข้ารับบริการทางการแพทย์แผนไทยมากขึ้น


>