กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดพุง ลดโรค เพื่อลดภัยเงียบโรคเรื้อรัง ในคลินิก DPAC และในชุมชน ปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

-

พื้นที่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง หมู่ที่ 3,6 ตำบลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

60.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

60.00

ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจนโรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ได้แก่ ข้อเข่าเสื่อม ภาวะอัมพฤกษ์อัมพาต ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้ โรคซึมเศร้าเป็นต้นและยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง 20-74 ปีกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งมีผลมาจากความอ้วนโรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ 17 ล้านคนและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค เป็นภาระของครอบครัวและประเทศนอกจากนี้ยังปรากฏว่าร้อยละ 2-8 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลกระทบจากโรคอ้วน ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก 10 ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยปีล่าสุด พ.ศ.2547 พบว่า ประชากรในประเทศไทยที่อายุมากกว่า 35 ปี มีเส้นรอบพุงเกินกำหนดประมาณ 9.3 ล้านคน โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คือ เพศหญิงอ้วนลงพุง 52% ผู้ชาย 22% คนที่มีรอบเอวเพิ่มขึ้นทุก 5 เซนติเมตร จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพิ่ม 3-5 เท่า จะเห็นได้ว่าเอวใหญ่ขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเจ็บป่วยและตายเร็วขึ้นเท่านั้น จากการสำรวจสภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนของกรมอนามัย ปี 2550 พบว่าคนไทยอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป เพศชายมีภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละร้อยละ 24 และเพศหญิงร้อยละ 60 โดยพบในผู้หญิงมากกว่าชาย ถึง 2.5 เท่าตัว ภาวะอ้วนลงพุงส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค กรรมพันธุ์ และไม่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง
จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา เมื่อปีงบประมาณ 2566 ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปรับการคัดกรอง 1,733 คน พบเสี่ยง(ระดับน้ำตาลในเลือด 100-126 mgdl) จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 4.5 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 mgdl) จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 0.98 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นทะเบียนจำนวน 16 ราย และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,483 คน พบเสี่ยง(ระดับความดันโลหิต SBP120-139 mmHg หรือ DBP 80-89 mmHg) จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 8.23 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับความดันโลหิต SBP>=140mmHg หรือ DBP >=90 mmHg)) จำนวน 22คน คิดเป็นร้อยละ 1.48ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นทะเบียนจำนวน 49 ราย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค ลดพุงเพื่อลดภัยเงียบโรคเรื้อรัง ในคลินิก DPAC และในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่และลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

60.00 50.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

60.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 126
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แกนนำ ในด้าน DPAC

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แกนนำ ในด้าน DPAC
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนX 35 บาท X 2 มื้อเป็นเงิน 1,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คนX 70 บาท X 1 มื้อเป็นเงิน 1,400 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน X 5 ชม. X 300 บาท X 1 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 15 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4300.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มป่วย

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 63 คนX 35 บาท X 2 มื้อ  X 2 วัน            เป็นเงิน  8,820  บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 63 คน X 70 บาท X 1 มื้อ x 2 วัน                       เป็นเงิน  8,820  บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน X 5 ชม. X 300 บาท X  2 วัน                              เป็นเงิน  3,000  บาท
  • ค่าไวนิลโครงการ  ขนาด 1.5 x 2.0 เมตรๆละ 250 บาท x 1 ผืน            เป็นเงิน   750  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 15 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21390.00

กิจกรรมที่ 3 3 .กิจกรรมพัฒนาคลีนิค DPAC ให้ได้ตามมาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
3 .กิจกรรมพัฒนาคลีนิค DPAC ให้ได้ตามมาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เครื่องวัดองค์ประกอบร่างกาย(inbody) จำนวน 1 เครื่อง                            เป็นเงิน  8,300  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,990.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้าโปรแกรมคลินิกDPAC มีความอย่างต่อเนื่อง 100% และมีการดำเนินงานคลินิก DPAC อย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มป่วยสามารถควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง


>