กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคความดัน โลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง ในประชากรเขตเทศบาลตำบลท่าเสา ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่าเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคความดัน โลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง ในประชากรเขตเทศบาลตำบลท่าเสา ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่าเสา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเสา

นางสุพวรรณ แพพ่วง

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเสาในการจัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถิติจังหวัดพิจิตร ปี 2563-2565 ในจังหวัดพิจิตรพบจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ เป็นดังนี้ ปี 2562 จำนวน 3,183 รายปี 2563 จำนวน 3,063 ราย ปี 2564 จำนวน 3,442 รายและปี 2565 จำนวน 3734 รายและพบจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ปี 2562 จำนวน 7,790 รายปี 2563 จำนวน 7,254 รายปี 2564 จำนวน 8,676 ราย และปี 2565 จำนวน9400 ราย(ที่มา:ข้อมูล HDC จังหวัดพิจิตร ;2565) และพบอัตราป่วยตายโรคหลอดเลือดสมอง เป็นดังนี้ ปี 2561 อัตราป่วยตาย 51.11 ต่อแสนประชากร ปี 2562 อัตราป่วยตาย 50.44 ต่อแสนประชากร และปี 2563อัตราป่วยตาย 47.59ต่อแสนประชากร (ที่มา:ข้อมูลโรคติดต่อ สำนักโรคไม่ติดต่อ;2565)
สถานการณ์โรคเรื้อรังในเขตตำบลท่าเสา ระหว่างปีงบประมาณ 2563 - 2566 พบจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ปี 2563 จำนวน 40ราย,ปี 2564 จำนวน 44 ราย,ปี 2565จำนวน45 และปี 2566จำนวน36ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วยรายใหม่ 648.72,749.83,716.33,572.06 ต่อประชากรแสนคน และพบจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปี 2563 จำนวน 51, ปี 2564 จำนวน 103 ราย,ปี 2565จำนวน 81 ราย และปี 2566จำนวน 64 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วยรายใหม่ 827.12, 1,755.28, 1,289.39, 1,017.03 ต่อประชากรแสนคน (ที่มา:ข้อมูล HDC จ.พิจิตร;2566) ส่วนประชากรที่ตรวจคัดกรองแล้วพบภาวะเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ในปีงบประมาณ 2566 มีผลเป็นดังนี้ พบความเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 69 คน พบมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 89 คน ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดระดับ 2-5 จำนวน 134 คน จากการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้พบจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่เพิ่มทุกปีและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย การไม่ควบคุมการรับประทานอาหาร และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลยังพบอีกว่าผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเรื้อรัง มีภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงร่วมด้วย โดยในปีที่ผ่านมามีจำนวนกลุ่มเสี่ยงสูงทั้งหมด 907 คน โดยในจำนวนนี้มีภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง จำนวน 209 คน คิดเป็นร้อยละ 23.04 ของกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด อีกทั้งยังพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เสียชีวิตและมีประวัติป่วยเป็นโรคไขมันในเลือดสูง จำนวน 2 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 7ราย คิดเป็นร้อยละ 28.57 ของผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด (ที่มา:ทะเบียนผู้เสียชีวิต ณ 1 ต.ค.2566)
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเสาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยง สามารถรับรู้สถานะสุขภาพของตนเองและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง และลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในกลุ่มประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไปที่ไม่มีโรคประจำตัว

 

80.00
2 เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจากระดับไขมันในเส้นเลือด

 

80.00
3 เพื่ออบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง

 

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 636
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำแผนสุขภาพตำบล เสนอแผนต่อคณะกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพ เเละเสนอโครงการเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น เทศบาล

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินกิจกรรมคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไปที่ไม่มีโรคประจำตัว เเละส่งหนังสือเชิญกลุ่มเสี่ยงจากปีงบประมาณ 2565-2566 เข้ารับการเจาะเลือดประเมินระดับไขมัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1056.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเจาะเลือดเเละอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเจาะเลือดเเละอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือดกลุ่มเสี่ยงปีงบประมาณ 2565-2566 ส่งหนังสือคืนข้อมูลสถานะสุขภาพ เเละอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงสูง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22124.00

กิจกรรมที่ 4 เจาะเลือดเเละสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดเเละสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือดประเมินผลกลุ่มเสี่ยงหลังการอบรม เเละสรุปผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,580.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 30 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลท่าเสาได้รับการคัดกรองสุขภาพเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง
2.ผู้ที่ตรวจพบภาวะผิดปกติได้รับการตรวจรักษาและส่งต่อ
3.กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้เป็นผู้ป่วยรายใหม่
4.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการคัดกรองภาวะไขมันและสามารถป้องกันตนเองจากภาวะโรคหลอดเลือดสมองได้


>