กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ ส่งเสริมการคัดแยกขยะ รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนวัดประจิมทิศาราม ( เมฆประชาบำรุง )ตำบลตำนาน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ส่งเสริมการคัดแยกขยะ รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนวัดประจิมทิศาราม ( เมฆประชาบำรุง )ตำบลตำนาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

โรงเรียนวัดประจิมทิศาราม ( เฆประชาบำรุง )

โรงเรียนวัดประจิมทิศาราม ( เฆประชาบำรุง )

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

13.33
2 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

1,500.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

126.00
4 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

 

57.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

2.00
6 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

1.00

ขยะเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ เป็นต้นเหตุสำคัญของมลภาวะทางน้ำ อากาศ พื้นดิน และเกิดภาวะ โลกร้อน ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาวะของประชาชน ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้เกิดมูลฝอยตกค้างสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ทั้งแบบเทกองและปล่อยทิ้งให้เกิดการสะสมบริเวณถนน บริเวณทางเดิน บริเวณพื้นดินในที่สาธารณะ และบริเวณต่าง ๆรอบ ๆ ตัวอาคาร บ้านเรือนและ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค รวมถึงในโรงเรียนที่มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นทุกวัน สาเหตุเกิดจากจิตสำนึกความตระหนักและการขาดความรู้เรื่องการคัดแยะขยะที่ถูกวิธี ประโยชน์ และโทษของขยะบางครั้งมีการเผาขยะในบริเวณโรงเรียนเกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน เช่น อาจเกิดโรคทางเดินหายใจ หอบหืด ตลอดจนชุมชนที่บ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียง การจัดการขยะในโรงเรียนวัดประจิมทิศารามยังมีการทิ้งขยะรวมกัน และในตอนเย็นของทุกวัน วันเสาร์และวันอาทิตย์ขยะในบริเวณโรงเรียนจะมีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการดำเนินงานแก้ไขขยะในโรงเรียน เพื่อลดขยะและคัดแยกขยะโดยครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ขยะลดน้อยลงหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องสร้างความตระหนักมีการให้ความรู้กับนักเรียนและชุมชนในการส่งเสริมการคัดแยกขยะ การจัดการขยะที่ถูกวิธี เพื่อลดขยะในโรงเรียนและชุมชน ทำให้โรงเรียนน่าอยู่และลดแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดมลพิษทางอากาศ สุขภาพ และสร้างความตระหนักให้กับโรงเรียนและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนางานด้านสุขลักษณะอย่างต่อเนื่อง
โรงเรียนวัดประจิมทิศาราม(เมฆประชาบำรุง) มีนักเรียน จำนวน 51 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและที่ปรึกษา จำนวน 9 คน ซึ่งระบบการจัดการขยะ โรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลตำนาน เข้ามาเก็บให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่เนื่องจากโรงเรียนยังไม่มีอุปกรณ์จัดเก็บและบางครั้งนักเรียนยังไม่ได้มีการคัดแยกขยะส่งผลให้เกิดปัญหาให้การจัดการขยะ ที่ผ่านมาโรงเรียนก็ได้มีการส่งเสริมให้เด็กนักเรียน ครู และบุคลกรที่เกี่ยวข้องช่วยกันคัดแยกขยะภายในโรงเรียน สำหรับขยะในแต่ละประเภท ดังนี้ 1. ขยะอินทรีย์จากโรงอาหารผู้ประกอบอาหารได้นำกลับไป 2.ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ 3. ขยะรีไซเคิล 4. ขยะทั่วไป และขยะบางประเภทใช้การเผาทำลายในบริเวณภายในโรงเรียน ซึ่งส่งผลให้เกิดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เช่น กลิ่นน้ำเน่าเสีย ทัศนอุจาดของกองขยะที่ไม่มีอุปกรณ์จัดเก็บ ส่งผลต่อสุขภาพของนักเรียน ครู และบุคลากร เช่น การเกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และที่สำคัญเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากยุง หนู แมลงสาปดังนั้น โรงเรียนวัดประจิมทิศาราม(เมฆประชาบำรุง) เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและต้องการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนโดยรอบของโรงเรียนได้ร่วมกันดูแลการจัดการขยะที่มีปัญหามายาวนาน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

126.00 150.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

1500.00 1000.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

1.00 2.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

57.00 100.00
5 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

2.00 5.00
6 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

13.33 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 51
กลุ่มวัยทำงาน 7
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการอนามัย สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และ อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะ  โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท                         เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน1มื้อ ๆ ละ 25บาท จำนวน 51 คน      เป็นเงิน 1,275 บาท
- ค่าไวนิลการอบรม ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย                     เป็นเงิน     500 บาท
- ค่าเอกสารการอบรม จำนวน 51 ชุด ๆ ละ 30 บาท                              เป็นเงิน 1,530 บาท
   (เฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6)
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ กากน้ำตาล หัวเชื้อจุลินทรีย์ ผัก ผลไม้ และมูลวัด     เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าถังหมัก ขนาด 20 ลิตร จำนวน 3 ถัง ราคาถังละ 250 บาท              เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน และคุณครู  จำนวน 51  คน ได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการอนามัย สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และ อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6255.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม รณรงค์การคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม รณรงค์การคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์การคัดแยกขยะ    โดยมีกิจกรรม  ดังนี้ -  จัดตั้งธนาคารขยะ -  การให้ความรู้หน้าเสาธง -  การจัดบอร์ดนักเรียน -  จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการคัดแยกขยะ -  การเดินรณรงค์บริเวณชุมชนรอบ ๆ โรงเรียน โดยมีงบประมาณ  ดังนี้
1. ถังขยะฝาสวิงทรงเหลี่ยม 60 ลิตร ขนาด 40.8x40.8x69 ซม. แยกประเภท (สีเขียว  สีเหลือง สีส้ม สีน้ำเงิน) จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 2,500 บาท    เป็นเงิน  2,500 บาท
2  ถังขยะฝาสวิงขนาด 60 ลิตร แยกประเภท   (สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน) จำนวน 1 ชุด ชุดละ 2,500  บาท                                            เป็นเงิน  2,500 บาท
3  ค่าป้ายรณรงค์แบบโฟมบอร์ดพร้อมด้ามจับ ขนาด 1.0 x 0.5 เมตร จำนวน 7 ป้ายๆละ 400 บาท                                                                  เป็นเงิน  2,800 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดบอร์ด เช่น กระดาษสีต่าง ๆ กระดาษตกแต่ง เทปกาว วัสดุตกแต่งต่าง ๆ เป็นต้น                                                      เป็นเงิน    945 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนสามารถดำเนินการ
-  จัดตั้งธนาคารขยะ -  การให้ความรู้หน้าเสาธง -  การจัดบอร์ดนักเรียน -  จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการคัดแยกขยะ -  การเดินรณรงค์บริเวณชุมชนรอบ ๆ โรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8745.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค
2. โรงเรียนสะอาดและปลอดขยะ
3. เกิดผลิตภัณฑ์จากการนำขยะที่เหลือนำกลับมาใช้ใหม่ได้
4. ลดแหล่งมลพิษทางอากาศ น้ำ ดิน และ ลดภาวะโลกร้อน
5. ไม่มีการเกิดโรคที่เกิดจากยุง หนู แมลงสาป แมลงวัน ภายในโรงเรียน
6. นักเรียนเกิดความตระหนักสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธีและนำไปใช้กับครัวเรือนได้


>