กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ ส่งเสริมการคัดแยกขยะ รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนวัดตำนาน (วรพัฒนประชาสรรค์) ตำบลตำนาน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ส่งเสริมการคัดแยกขยะ รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนวัดตำนาน (วรพัฒนประชาสรรค์) ตำบลตำนาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

โรงเรียนวัดตำนาน(วรพัฒนประชาสรรค์)

โรงเรียนวัดตำนาน(วรพัฒนประชาสรรค์)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

1,600.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

52.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

 

30.00
4 ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

 

30.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

25.00
6 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

3.00
7 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

25.00

ขยะเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ เป็นต้นเหตุสำคัญของมลภาวะทางน้ำ อากาศ พื้นดิน ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาวะของประชาชน ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้เกิดมูลฝอยตกค้างสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ทั้งแบบเทกองและปล่อยทิ้งให้เกิดการสะสมบริเวณถนน บริเวณทางเดิน ในที่สาธารณะรอบ ๆ ตัวอาคาร และบ้านเรือน ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนและ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค รวมถึงในโรงเรียนที่มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นทุกวัน สาเหตุเกิดจากจิตสำนึกแลการขาดความรู้เรื่องการคัดแยะขยะที่ถูกวิธี บางครั้งมีการเผาขยะในบริเวณโรงเรียน ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน เช่น อาจเกิดโรคทางเดินหายใจ หอบหืด ตลอดจนชุมชนที่บ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียง การจัด การขยะในโรงเรียนวัดตำนาน ยังมีการทิ้งขยะรวมกัน และพบว่าหลังจากวันเสาร์และวันอาทิตย์ขยะในบริเวณโรงเรียนจะมีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการดำเนินงานแก้ไขขยะในโรงเรียน เพื่อลดขยะและคัดแยกขยะโดยครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ขยะลดน้อยลงหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้ให้กับนักเรียนและชุมชน ในการส่งเสริมการคัดแยกขยะ การจัดการขยะที่ถูกวิธี เพื่อลดขยะในโรงเรียนและชุมชน ทำให้โรงเรียนน่าอยู่และลดแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสร้างความตระหนักให้กับโรงเรียนและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนางานด้านสุขลักษณะอย่างต่อเนื่อง
โรงเรียนวัดตำนาน มีนักเรียน จำนวน ๙๔ คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 1๐ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและที่ปรึกษา จำนวน 9 คน ซึ่งระบบการจัดการขยะ โรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลท่าแค เข้ามาเก็บให้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่เนื่องจากโรงเรียนยังไม่มีอุปกรณ์จัดเก็บและบางครั้งนักเรียนยังไม่ได้มี การคัดแยกขยะส่งผลให้เกิดปัญหาให้การจัดการขยะ ที่ผ่านมาโรงเรียนก็ได้มีการส่งเสริมให้เด็กนักเรียน ครู และบุคลกร ที่เกี่ยวข้องช่วยกันคัดแยกขยะภายในโรงเรียน สำหรับขยะในแต่ละประเภท ดังนี้ 1. ขยะอินทรีย์จากโรงอาหารผู้ประกอบอาหารได้นำกลับไป 2.ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ 3. ขยะรีไซเคิล 4. ขยะทั่วไป และขยะบางประเภทใช้การเผาทำลายในบริเวณภายในโรงเรียน ซึ่งส่งผลให้เกิดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เช่น กลิ่น น้ำเน่าเสีย ทัศนอุจาดของกองขยะที่ไม่มีอุปกรณ์จัดเก็บ ส่งผลต่อสุขภาพของนักเรียน ครู และบุคลากร เช่น การเกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และ ที่สำคัญเป็นแหล่งเพาะพันธุ์โรค จากยุง หนู แมลงสาปดังนั้น โรงเรียนวัดตำนาน เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและต้องการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนโดยรอบของโรงเรียนได้ร่วมกันดูแลการจัดการขยะที่มีปัญหามายาวนาน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ รักษ์สุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

1600.00 1500.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

52.00 70.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

3.00 5.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

30.00 40.00
5 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

25.00 30.00
6 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

25.00 30.00
7 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)

ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

30.00 40.00

1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการจัดการระบบอนามัยสิ่งแวดล้อม (การจัดการขยะ) ในโรงเรียน
2. เพื่อให้เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 94
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการอนามัย สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และ  อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะ    โดยมีงบประมาณ ดังนี้
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท                            เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 105 คน    เป็นเงิน 2,625 บาท
- ค่าไวนิลการอบรม ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย                         เป็นเงิน    500 บาท
- ค่าเอกสารการอบรม จำนวน 75 ชุด ๆ ละ 30 บาท                                  เป็นเงิน 2,250 บาท
   (เฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6)
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ กากน้ำตาล หัวเชื้อจุลินทรีย์ ผัก ผลไม้ และอื่น ๆ     เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าถังหมัก ขนาด 20 ลิตร จำนวน 6 ถัง ราคาถังละ 250 บาท                   เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและคุณครู ความรู้เรื่องการจัดการอนามัย สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
- การจัดการขยะ 5 ประเภท (ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย ขยะติดเชื้อ ขยะรีไซเคิล และขยะทั่วไป) ด้วยการคัดแยกขยะ
- การจัดการแหล่งเพาะพันธ์โรคที่มียุง แมลงวัน หนู แมลงสาป เป็นพาหนะ

  • ผลกระทบด้านสุขภาพจากการไม่จัดการระบบอนามัยสิ่งแวดล้อม และได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะ

  • ขยะอินทรีย์ ด้วยการทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมัก

  • ขยะรีไซเคิล ด้วยการเปลี่ยนรูปผลิตภัณฑ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11675.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม รณรงค์การคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม รณรงค์การคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม  รณรงค์การคัดแยกขยะ  โดยการ

  • จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการคัดแยกขยะ
  • การให้ความรู้หน้าเสาธง
  • การจัดบอร์ดนักเรียน
  • การเดินรณรงค์บริเวณชุมชนรอบ ๆ โรงเรียน
                โดยมีงบประมาณ ดังนี้
  1. ถังขยะฝาสวิงทรงเหลี่ยม 60 ลิตร ขนาด 40.8x40.8x69 ซม. แยกประเภท (สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีน้ำเงิน) จำนวน 1   ชุด ๆ ละ 2,500 บาท     เป็นเงิน   2,500  บาท
  2. ถังขยะฝาสวิงขนาด 120 ลิตร แยกประเภท(สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน) จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 5,000 บาท                                                   เป็นเงิน   5,000 บาท
  3. ค่าป้ายรณรงค์แบบโฟมบอร์ดพร้อมด้ามจับ ขนาด 1.0 x 0.5 เมตร จำนวน 10 ป้ายๆละ 400 บาท                                                                   เป็นเงิน   4,000 บาท
  4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดบอร์ด เช่น กระดาษสีต่าง ๆ กระดาษตกแต่ง เทปกาว วัสดุตกแต่งต่าง ๆ เป็นต้น                                                        เป็นเงิน   1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการรณรงค์การคัดแยกขยะ ในโรงเรียน และชุมชนรอบ ๆ โรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม ธนาคารขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ธนาคารขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม  ธนาคารขยะ  โดยมีงบประมาณ ดังนี้
- ค่าสมุดคู่ฝากธนาคารขยะ 75 เล่ม เล่มละ 10 บาท                                เป็นเงิน  750  บาท
- ค่าตาชั่ง โครงเหล็ก ราคา 599  บาท                                                   เป็นเงิน  599  บาท
- ค่าไวนิลกิจกรรม ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย                          เป็นเงิน  500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนมีการจัดตั้งธนาคารขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1849.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม การติดตาม ประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม การติดตาม ประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม    การติดตาม ประเมินผล      โดยไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการติดตาม ประเมินผล โครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,024.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธีและนำไปใช้กับครัวเรือน
2. โรงเรียนสะอาดและปลอดขยะ
3. เกิดผลิตภัณฑ์จากการนำขยะที่เหลือนำกลับมาใช้ใหม่ได้
4. ลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค
5. ไม่มีการเกิดโรคที่เกิดจากยุง หนู แมลงสาป แมลงวัน ภายในโรงเรียน
6. ลดแหล่งมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน


>