กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวโค้ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านหัวโค้ง

นางสาว ยานายะ มาหะมะ
นางสาวฟาตีฮา บือราเฮง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวโค้ง ม.1 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส 96140

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวโค้ง มีการจัดเตรียมความพร้อมและมีการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมแก่เด็ก เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเตรียมความพร้อม ทั้งทางด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์ และสังคมให้แก่เด็ก ปัจจัยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ประกอบด้วยพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมอื่นๆเช่น อาหารการกิน หรือ โภชนาการ การออกกำลังกาย ดนตรีและศิลปะ ความรัก ความท้าทายจากกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ พัฒนาการ เป็นทักษะและความสามารถเฉพาะตามช่วงอายุเด็ก จึงต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ โดยการกระตุ้นการทำงานของสมอง อารมณ์ ร่างกาย และสังคม ตามช่วงจังหวะของศักยภาพการเรียนรู้ในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม เด็กจึงจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการฝึกฝนและเกิดกระบวนการเรียนรู้ เมื่อครอบครัวและชุมชนมีการเลี้ยงดูเด็กที่ดีแล้ว ก็จะเป็นการวางรากฐานในการพัฒนาคนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวโค้ง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปะลุรู ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดให้มีการจัดโครงการส่งเสริมโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อจะให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีภาวะโภชนาการที่สมบูรณ์ ที่ถูกต้องตามเกณฑ์ การดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับโภชนาการ และการมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง ทำให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา พร้อมที่จะเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครองในการร่วมมือเฝ้าระวังโภชนาการสมวัยของเด็ก

การมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครองในการร่วมมือเฝ้าระวังโภชนาการสมวัยของเด็ก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 39
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/06/2024

กำหนดเสร็จ 19/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการอบรม ให้ความรู้พัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรม ให้ความรู้พัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการแก่ผู้ปกครอง เรื่อง การส่งเสริมโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวโค้ง จำนวน 39 คน
1.ค่าป้ายไวนิล 1 ผืนๆละ 750 บาท ขนาด 120x240 ซม. เป็นเงิน 720 บาท
2.ค่าอาหารพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 39 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 2,340 บาท 3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 39 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,340 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 39 คนๆ ละ 80 บาท ( กระเป๋า ปากกา สมุด) เป็นเงิน 3,120 บาท 5.ค่าวิทยากร 4ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2567 ถึง 19 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10920.00

กิจกรรมที่ 2 ทำอาหารว่างที่มีประโยชน์สำหรับเด็ก (แซนด์วิชไส้ทูน่า/แซนด์วิชไส้ปูอัด)

ชื่อกิจกรรม
ทำอาหารว่างที่มีประโยชน์สำหรับเด็ก (แซนด์วิชไส้ทูน่า/แซนด์วิชไส้ปูอัด)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขนมปังโฮลวีตราคาถุงละ 46 บาท จำนวน 20 ถุง เป็นเงิน 920 บาท 2.ปลาทูน่ากระป๋อง ราคากระป๋องละ 59 บาท จำนวน 16 กระป๋อง เป็นเงิน 944 บาท 3.ออริกาโน่ ขนาด 50 กรัม ราคาถุงละ 99 บาท จำนวน 2 ถุง เป็นเงิน 198 บาท
4.เกลือปรุงทิพย์ราคาถุงละ 5 บาท จำนวน 2 ถุง เป็นเงิน 10 บาท 5.หัวหอมราคากิโลกรัมละ 65 บาท จำนวน 2 กิโลกรัม เป็นเงิน 130 บาท 6.มายองเนส ราคาถุงละ 65 บาท จำนวน 7 ถุง เป็นเงิน 455 บาท 7.ปูอัดสลิม(ฉีกฝอย) ราคาแพ็คละ 150 บาท จำนวน 10 แพ็ค เป็นเงิน 1,500 บาท
8.ผักกาดหอม ราคากิโลกรัมละ 70 บาท จำนวน 10 กิโลกรัม เป็นเงิน 700 บาท 9.มะเขือเทศ ราคากิโลกรัมละ 50 บาท จำนวน 3 กิโลกรัม เป็นเงิน 150 บาท 10.แตงกวา ราคากิโลกรัมละ 45 บาท จำนวน 3 กิโลกรัม เป็นเงิน 135 บาท 11.แครอท ราคากิโลกรัมละ 35 บาท จำนวน 3 กิโลกรัม เป็นเงิน 105 บาท 12.น้ำตาลทราย ราคากิโลกรัมละ 30 บาท จำนวน 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 30 บาท 13.มีดหั่นแซนด์วิช ราคาอันละ 25 บาทจำนวน 7 อัน เป็นเงิน 175 บาท 14.เขียงพลาสติกราคาอันละ 25 บาทจำนวน 7 อัน เป็นเงิน 175 บาท 15.กล่องใส่แซนด์วิช ราคาแพ็คละ 150 บาท จำนวน 2 แพ็ค เป็นเงิน 300 บาท 16.ถุงมือพลาสติกใสราคาห่อละ 25 บาทจำนวน 2 ห่อ เป็นเงิน 50 บาท 17.ผ้ากันเปื้อน พื้นล่ะ 35 บาท จำนวน 39 อัน เป็นเงิน 1,365 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2567 ถึง 19 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครองในการร่วมมือเฝ้าระวังโภชนาการสมวัยของเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7342.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,262.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
2. ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี
3. เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
4. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง/ผู้นำชุมชนในการร่วมมือเฝ้าระวังโภชนาการสมวัยของเด็ก


>