กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางครก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการสมวัยห่างไกลโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางครก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางครก

1.นางสาวหัทยาบูญเกิด
2.นางสาวสุภารัตน์แสงสด
3.นางสาวช่อเพชรสวนสัน
4.นางสาวสิริพร เกตุอำไพ
5.นางสมจิตต ดวงพลอย

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบางครก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

 

30.00
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน

 

40.00

เด็กเป็นบุคลากรที่สำคัญ และเป็นกำลังของชาติ หากเด็กในวันนี้มีปัญหาด้านสุขภาพเจ็บป่วย อนาคตของชาติก็จะอ่อนแอ และมีปัญหาตามมาได้ ดังนั้น การทำให้เด็กมีสุขภาพดี ร่างกาย จิตใจ และสมองได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม โดยการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันควบคุมโรคภัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจาย และติดต่อระหว่างกันได้ง่ายเมื่อเด็กเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคหัด อุจจาระร่วง มือ เท้า ปาก คางทูม และอีสุกอีใสเนื่องจากเด็กเล็กเป็นช่วงอายุที่ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้เด็กเจ็บป่วยได้ง่าย การเจ็บป่วยในวัยนี้ อาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มป่วยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้น การป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการลด และแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยของเด็กเล็กที่พบในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางครก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางครก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว ที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล จึงได้จัดโครงการพัฒนาการสมวัยห่างไกลโรคนี้ขึ้น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็ก เพื่อให้ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้มีความรู้ ความเข้าใจโรคที่เกิดในเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่เจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ที่สามารถป้องกันได้ และรู้ถึงสาเหตุของโรคที่เกิดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

30.00 25.00
2 เพื่อลดภาวะอ้วน ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน

40.00 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในเด็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมหารือเพื่อวางแนวทางในการดำเนินการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. ประสานวิทยากรและกลุ่มเป้าหมาย
  4. กำหนดวัน เวลา สถานที่ และดำเนินการตามโครงการ
  5. สรุปผลโครงการ
  6. งบประมาณที่ใช้ในโครงการ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 30 บาท / มื้อ x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท -ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 80 คน x 50 บาท / มื้อ x 1 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมง x 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม (สมุด,ปากกา,กระเป๋าใส่เอกสาร) เป็นเงิน 2,400 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ให้ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้มีความรู้ ความเข้าใจต่อโรคที่เกิดในเด็กเล็ก
  2. ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีแนวทางในการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในเด็กได้อย่างที่ถูกต้อง
  3. ให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจโรคที่เกิดขึ้นในเด็กเล็ก
2. มีแนวทางในการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในเด็กได้อย่างถูกต้อง
3. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้


>