กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางครก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการในเด็กเล็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางครก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางครก

1.นางสาวหัทยา บุญเกิด
2.นางสาวสุภารัตน์แสงสด
3.นางสาวช่อเพชร สวนสัน
4.นางสาวสิริพร เกตุอำไพ
5.นางสมจิตต ดวงพลอย

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบางครก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

 

30.00
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

 

20.00
3 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

 

20.00
4 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน

 

40.00

อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กในช่วงก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเด็กเล็กทั่วไปเป็นวัยที่มีความเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เร็วมากซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดีในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุฯ โดยเฉพาะในเด็กเล็กเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจ อารมณ์สังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดตลอดจนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เนื่องจากในระยะที่ผ่านมา มีเด็กนักเรียนและเด็กเล็ก ที่มีการเจ็บป่วยจากอาหารเป็นพิษและโรคอุจาระร่วงเกิดขึ้นหลายจังหวัดเป็นประจำทุกปีทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็ก ประกอบกับ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคขาดสารไอโอดีนก็เป็นปัญหาสาธารณสุขทางด้านโภชนาการที่สำคัญ และเป็นต้นเหตุที่พบมากที่สุดของภาวะปัญญาอ่อนซึ่งป้องกันได้ พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะมีผลร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนอายุ 2 – 3 ปี โดยมีผลลดความเฉลียวฉลาดหรือไอคิวของเด็ก เด็กวัยเรียนที่ขาดสารไอโอดีน จะส่งผลให้เรียนรู้ช้า เฉื่อยชา เป็นคอพอกเพราะสารไอโอดีนมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมอง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียนทั้งทางภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบางครกได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญกับปัญหาสาธารณสุขดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 มาตรา ๖๗ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับ อำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล องค์การบริหารส่วนตำบลบางครกจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการในเด็กเล็กขึ้น เพื่อเป็นการอบรมให้ความรู้และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เด็กในพื้นที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัยเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

30.00 25.00
2 เพื่อลดภาวะเตี้ยในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

20.00 15.00
3 เพื่อลดภาวะอ้วน ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน

40.00 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและด้านโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและด้านโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมหารือเพื่อวางแนวทางในการดำเนินการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. ประสานวิทยากรและกลุ่มเป้าหมาย
  4. กำหนดวัน เวลา สถานที่ และดำเนินการตามโครงการ
  5. สรุปผลโครงการ 6.งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการ -ค่าวิทยากร (จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท)        เป็นเงิน   1,800 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สำหรับผู้เข้ารับการอบรม)          (55 คน x 1 มื้อ x 30 บาท)                  เป็นเงิน   1,650 บาท -ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม  (สำหรับผู้เข้ารับการอบรม)          (55 คน x 1 มื้อ x 50 บาท)                  เป็นเงิน   2,750 บาท -ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม (ปากกา สมุด กระเป๋าใส่เอกสาร กระดาษ)   เป็นเงิน   3,000 บาท -ป้ายโครงการฯ ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ป้าย                     เป็นเงิน   540 บาท    รวมทั้งสิ้น 9,740 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ให้ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการเพื่อเฝ้าระวังและติดตามสุขภาพและด้านโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก
  2. ให้ผู้ดูแลเด็ก  ผู้ปกครองเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการอาหารปลอดภัยและปลอดโรค ให้กับเด็กให้มีคุณค่าโภชนาการเหมาะสมตามวัย
  3. ส่งเสริมให้เด็กเล็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9740.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,740.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ดูแลเด็กผู้ปกครองเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก
2. ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการอาหารปลอดภัยและปลอดโรคให้กับเด็กที่มีคุณค่าโภชนาการเหมาะสมตามวัย
3. เด็กเล็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย


>