กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะยอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะยอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนเรียน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวนเรียน หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

60.00

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุหลายปัจจัยเสี่ยงที่เกิดมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกายและไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิโรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจหลอดเลือด แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทางรพ.สต.บ้านสวนเรียนจึงเห็นความสำคัญและปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อจะให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคในระยะเริ่มแรก สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่โรคความดัน เบาหวาน ได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป(ยกเว้นกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) ได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองได้ตามเป้าหมาย จำนวน 1,070 คน

60.00 90.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบ

40.00 60.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

กลุ่มเสี่ยงทุกรายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเจ้าหน้าที่และอสม. จะติดตามการวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือดซ้ำทุก 3 เดือน และ 6 เดือน

40.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,070
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมหลัก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมหลัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้ว จำนวน 5 เครื่อง ๆ ละ 2,354 บาท รวมเป็นเงิน 11,770 บาท 2.เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 1,765.50 บาท รวมเป็นเงิน 3,531 บาท 3.กลุ่มเป้าหมายที่ต้องคัดกรองและติดตามเจาะ DTX มากกว่า ร้อยละ 90 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,070 คน 4.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการเจาะระดับน้ำตาลและวัดความดันซ้ำปีละ 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 15,301 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15301.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,301.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและสามารถรู้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มป่วย
2.ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่และลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ
3.กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยได้รับคำแนะนำจากเจ้าที่ ติดตามการวัดโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือดซ้ำ
4.กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งต่อพบแพทย์ได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ


>