กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีวิถีคนหมู่ 9

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรม อสม.หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านพร้าว

1.นางทวิพร สร้อยทอง
2.นางสมทรง เพ็งคลิ้ง
3.นางปิยวรรณ เลียดรักษ์
4.นางนัยนา แป้งเพ็ง
5.นางดรุณี คงเหลือ

พื้นที่หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่าร้อยละ 80 ของประชากรในหมู่บ้าน ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมในการดำรงชีวิตประจำวัน และการมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรค ตัวอย่างเช่น โรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น ส่วนโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมไม่ดี เช่น โรคไข้เลือดออก โรคทางเดินหายใจ มลภาวะเป็นพิษ มีกลิ่นรบกวน ส่งผลต่อการเกิดสุขภาพจิตที่ไม่ดี ตลอดถึงการกำจัดที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีการแยกขยะจากครัวเรือน ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะของทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถควบคุมได้หากคนในชุมชนมีวินัย ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นแกนนำด้านสุขภาพในหมู่บ้านต้องมาเป็นผู้นำให้กับประชาชนในเรื่องของการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แนวทางการปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อลดการเกิดโรค ทั้งโรคที่เกิดจากพฤติกรรม และโรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในชุมชน ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่จะต้องช่วยกันแก้ไข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ มีการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องและหมาะสม

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้อง

90.00 90.00
2 ให้ประชาชนมีผักปลอดพิษไว้รับประทานเองในชุมชน

ประชาชนมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองอย่างต่อเนื่อง

90.00 90.00
3 เพื่อให้ครัวเรือนมีความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง

ประชาชนสามารถคัดแยกขยะและสามารถลดปัญหาปริมาณขยะในชุมชนได้

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายโครงการฯ 1x3 ม.จำนวน 1 ป้าย คิดเป็นเงิน 450 บาท ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่องๆละ 3,000 บาท คิดเป็นเงิน 6,000 บาท ค่าวัสดุสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ คิดเป็นเงิน 1,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 1,250 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชมๆละ 300 บาท คิดเป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของประชาชนในหมู่บ้านมีอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังลดลง/ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้ในการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมผักปลอดสารคนปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมผักปลอดสารคนปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก จำนวน 50 คนๆละ 1 ห่อๆละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 1,250 บาท ค่าต้นกล้าพันธุ์ผัก จำนวน 50 คนๆละ 10 ต้นๆละ 2 บาท คิดเป็นเงิน 1,000 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 1,250 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชมๆละ 300 บาท คิดเป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพันธ์ุผักสำหรับปลูกในครัวเรือนอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 ซอง/ประชาชนมีผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมคัดแยกขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดแยกขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าถังพลาสติกสีดำพร้อมฝาปิด ขนาด 16x21 จำนวน 50 ใบๆละ 100 บาท (อุปกรณ์สาธิตที่ทิ้งขยะเปียกในครัวเรือน)
คิดเป็นเงิน 5,000 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 1,250 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชมๆละ 300 บาท คิดเป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในชุมชน/ในชุมชนมีปริมาณขยะลดลงและสามารถลดอัตราการเกิดโรค ติอต่อที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7150.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมมอบเกียรติบัตรครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมมอบเกียรติบัตรครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเกียรติบัตร พร้อมกรอบ จำนวน 5 ครัวเรือนๆละ 200 บาท คิดเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม/ทำให้หมู่บ้านมีความเป็นอยู่ที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ และสามารถช่วยให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,650.00 บาท

หมายเหตุ :
****ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม****

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ด้านสุขภาพและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
2. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองอย่างต่อเนื่อง
3. มีครัวเรือนต้นแบบในการดูแลสุขภาพและมีความรูในการคัดแยกขยะต้นทางเพิ่มขึ้น


>