กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีเริ่มต้นที่ตนเอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรม อสม.หมู่ที่ 2

1.นายศุภกรณ์ ทองเจริญ
2.นางพรรทิภาเพชรคง
3.นางบัวทิพย์พงศาปาน
4.นางอารีย์ นาคะวิโรจน์
5.นางศิราวรรณ อินทะเสโน

หมู่ที่ 2ตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมและนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยบรรจุเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคน คือ “ลดอัตราการเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ 5 อันดับโรคแรก คือ หัวใจความดันโลหิตสูงเบาหวานมะเร็ง หลอดเลือดสมอง และภาวะอ้วนลงพุง เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานและลดรายจ่ายด้านสุขภาพ” เนื่องจากมีปัจจัยสาเหตุครอบคลุมทั้งเรื่องของพฤติกรรมการบริโภคปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต โรคไม่ติดต่อเป็นโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้โดยประชาชนจะต้องดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเช่น พฤติกรรมการบริโภค/การควบคุมน้ำหนักการออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และควบคุมความเครียดนอกจากนี้การดูแลสุขภาพตนเองด้วยการคัดกรองภาวะสุขภาพเช่น การตรวจวัดระดับความดันโลหิต ทางกระทรวงสาธารณสุข และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานนโยบายการคัดกรอง ได้ให้มีการเร่งรัดคัดกรองประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไปซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคเรื้อรังกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ และมักไม่ทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว เนื่องจากไม่มีอาการแสดงให้ทราบ ผู้ป่วยมักจะได้รับการวินิจฉัยอาการป่วยจากแพทย์ เมื่อมีภาวะแทรกแล้วซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและสร้างภาระต่างๆ ต่อครอบครัว เศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยอย่างมหาศาลวิธีการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพเชิงรุกในหมู่บ้าน/ชุมชน ถือเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง และเป็นการค้นหาผู้ป่วย ในระยะเริ่มต้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรัง ได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคดังกล่าวดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านตลิ่งชัน จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดี เริ่มต้นที่ตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมป้องกันโรคเรื้อรังได้

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสมและปลอดภัย

80.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้ในการป้องกันโรคที่เกิดจากสารเคมีตกค้าง

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และได้รับการตรวจสารพิษตกค้างในเลือด

90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการฯ1x3 ม.จำนวน 1ป้าย  รวมเป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่องๆละ 3,000 บาท   รวมเป็นเงิน 6000 บาท
  • ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักจำนวน  1 เครื่องๆละ 1,500.- บาท  รวมเป็นเงิน 1500 บาท
  • ค่าตวรจสารพิษตกค้างในเลือด จำนวน 80 คนๆละ 50 บาท  รวมเป็นเงิน 4000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 2000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และได้รับการตรวจสารพิษตกค้างในเลือด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13950.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชมๆละ 300 บาท  คิดเป็นเงิน  900 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  80 คนๆละ 25 บาท   คิดเป็นเงิน  2000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอันตรายจากการบริโภคอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,850.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสุขภาพ
2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกวิธี
3.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีขึ้น


>