กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ

ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มเป้าหมายได้รับคำแนะนำในเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

0.00
2 กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
3 กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ ได้รับการรักษา ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

 

0.00

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 รายพบมากที่สุดอายุระหว่าง 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง การป้องกัน และการควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหาด้วยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามและจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร แต่ในขณะเดียวกันโรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าหากว่าได้รับการตรวจวินิจฉัยและมาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก
ปัจจุบันสตรีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม เดิมการตรวจแป๊บสเมียร์ (Conventional Pap Smear) เป็นการเก็บเซลล์ปากมดลูกมาป้ายบนสไลด์ ความแม่นยำในการตรวจขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้อ่านสไลด์ ปัจจุบันนี้สาธารณสุขไทยได้มีการตรวจหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกแบบใหม่ เรียกว่า HPV DNA Test เป็นเทคนิคทางด้านชีวโมเลกุลที่จะตรวจหาตัวเชื้อ HPV ได้โดยตรง ทำให้สามารถตรวจหาระยะของโรคก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง คือการตรวจในระดับโมเลกุล เพื่อหาเชื้อ HPV ความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ประมาณ 99% โดยมีวิธีการตรวจเหมือนตรวจภายใน คือเก็บเซลล์บริเวณตัวอย่างที่ปากมดลูกช่องคลอดด้านใน ส่งตรวจเหมือนวิธีการตรวจด้วยน้ำยา ซึ่งสามารถที่จะตรวจหาเซลล์และแยกน้ำยาเพื่อจะตรวจหาเชื้อ HPV DNA ได้
จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ30-60 ปีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ มีเป้าหมายสะสมที่จะต้องดำเนินการระหว่างปี 2563 – 2567 จำนวน 1114 คน ระยะเวลาที่ผ่านมาได้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้วจำนวน 166 คน ผลการตรวจผิดปกติ 2 คน ในปี 2566 นี้ได้กำหนดเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการคัดกรองจำนวน 474 (50%)คน และสตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยเจ้าหน้าที่และด้วยตนเอง ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 1371 คน ในปีงบประมาณ 2567 นี้ ได้กำหนดเป้าหมายจะต้องดำเนินการตรวจจำนวน 1302 (95%) คน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังภาวะทางสุขภาพ ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะสาวอ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีปลอดภัยจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ในที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มเป้าหมาย ได้รับคำแนะนำในเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมาย ได้รับคำแนะนำในเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

0.00 100.00
2 กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

0.00 95.00
3 กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ ได้รับการรักษา ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ ได้รับการรักษา ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่อง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม พร้อมการตรวจหาความผิดปกติของเต้านม

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม พร้อมการตรวจหาความผิดปกติของเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม พร้อมตรวจหาความผิดปกติของเต้านม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35100.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์การรับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การรับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลลุโบะสาวอ เข้ารับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนหญิงอายุ 30-60ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA TEST
2.ประชาชนหญิงอายุ 30–70 ปี กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองอย่าง เหมาะสม และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง อย่างน้อยเดือนละครั้ง
3.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30-70ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาอย่างถูกต้องทุกราย


>