กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะยอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment : CBTx)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะยอ

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอหมู่ที่ 9 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด โดยมีการใช้กระบวนการชุมชนเป็นฐานในการค้นหา ชักชวน และร่วมดูแลช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติด ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่/บริบทของพื้นที่ที่เหมาะสม โดยการนำรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน(Community Treatment:CBTx) มาดำเนินการไปพร้อมกับการขับเคลื่อนการแก้ไขยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment CBTx) เป็นการดูแลผู้ใช้ยาเสพติดให้เกิดกการบำบัดฟื้นฟูใกล้บ้าน หรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการ ตั้งแต่การค้นหา คัดกรอง บำบัดฟื้นฟู การลดอันตรายจากยาเสพติด และการติดตามดูแลช่วยเหลือสังคม ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญที่หน่วยงานทุกภาคส่วนและชุมชนจะเข้ามาดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดนชยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment CBTx) ตำบลเกาะยอ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment CBTx) เพื่อให้ผู้ยาเสพติดได้รับการพัฒนาทั้งในด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ตลอดจนได้รับการติดตาม ดูแล และช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม จนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถลด ละ เลิก ยาเสพติดได้และส่งคืนคนดีกลับสู่สังคมต่อไป
วิธีดำเนินการ
แนวคิด CBTx เป็นการดูแลผู้ใช้ยาเสพติดให้ได้รับการบำบัดฟื้นฟูใกล้บ้าน หรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่องทั้งการฟื้นฟูทางการแพทย์และทางสังคม โดยใช้ศักยภาพและความร่วมมือของคนในชุมชนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตามบริบทและวิถีของชุมชนนั้น ๆ โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
1)จัดตั้งทีมงานหรือชุปฏิบัติการประจำตำบล เพื่อจัดทำแผนแนวทางการดำเนินงาน รวมถึงให้คำปรึกษา/คำแนะนำ พร้อมชักชวนให้ผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูฯ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือการดูแลในชุมชน
2)ทีมงานหรือชุดปฏิบัติการประจำตำบล ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/สถานพยาบาล ให้การดูแลฟื้นฟูภายในชุมชนตามแนวทางที่สาธารณสุขกำหนด เช่น การจัดทำกิจกรรมกลุ่ม การให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการดูแลตนเอง การเสริมสร้างกระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพฤตินัย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ รวมถึงการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสม
3)ทีมงานหรือชุดปฏิบัติการประจำตำบลกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือเชิงสังคม เช่น การจัดสถานที่ในการฝึกอาชีพ การสนับสนุนทุนประกอบอาชีพ การศึกษาต่อ เป็นต้น
4)รายงานผลดำเนินงานในระบบสารสนเทศยาเสพติดจังหวัด (NISPA) ของสำนัก ป.ป.ส. และระบบข้อมูลบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.) ของกระทรวงสาธารณสุข (ในกรณีที่ส่งต่อบำบัดในสถานพยาบาลหรือศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) รวมถึงความคืบหน้า ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานในที่ประชุม ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จ) และศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอ (ศป.ปส.อ.)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิดของผู้ป่วยยาเสพติด

ผู้ป่วยยาเสพติดได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น

40.00 80.00
2 ฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในหมู่บ้าน ให้สามารถลด ละ เลิกยาเสพติด

ผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดมีจำนวนลดลง

40.00 80.00
3 ให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยยาเสพติดในเชิงสุขภาพและสังคม

ผู้ป่วยยาเสพติดได้รับความช่วยเหลือทุกคน

40.00 80.00
4 เพื่อนำครอบครัว ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยยาเสพติด

ชุมชนและครอบครัวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยยาเสพติดได้ทุกคน

40.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดภายในหมู่บ้าน แบบไปกลับ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดภายในหมู่บ้าน แบบไปกลับ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตามกรอบการใช้จ่าย กำหนดไว้ รายหัว ๆ ละ 2,000 บาท (รายละเอียดตามภาคผนวก)ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่จากการค้นหา/ชักชวนเพื่อเข้ารับการบำบัดรักษา ดังนี้ 1.ค่าอาหารกลางวัน ในการจัดทำกิจกรรมกลุ่ม - มื้อละ 60 บาท x 30 คน x 6 ครั้ง เป็นเงิน 10,800 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการจัดกิจกรรมกลุ่ม - มื้อละ 25 บาท x 30 คน x 6 ครั้ง เป็นเงิน 4,500 บาท 3.ค่าบริหารจัดการ เช่น วัสดุ/อุปกรณ์ต่าง ๆ จำนวน 470 บาท
รวมเป็นเงิน 15,770 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการฟื้นฟูให้กลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15770.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ครอบครัวหรือชุมชนในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ครอบครัวหรือชุมชนในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน ในการจัดทำกิจกรรมกลุ่ม -มื้อละ 60 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท 2.ค่าอาหารว่าง ในการจัดกิจกรรมกลุ่ม -มื้อละ 25 บาท x 30 คน x 1 ครั้ง เป็นเงิน 750 บาท 3.ค่าบริหารจัดการ เช่น วัสดุ/อุปกรณ์ต่าง ๆ จำนวน 1,120 บาท 4.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360 บาท รวมเป็นเงิน 4,030 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครอบครัวหรือชุมชนได้รับความรู้ในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4030.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ใช้ยาเสพติดในพื้นที่ตำบลเกาะยอ ได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมและสามารถอยู่ร่วมกับคนในชุมชนได้โดยไม่ทำให้เดือดร้อน
2.ผู้ใช้ยาเสพติดมีพฤติกรรมที่เหมาะสม สามารถลด ละ เลิกยาเสพติดได้ และไม่กลับไปมีพฤติกรรมเสพติดซ้ำ
3.สามารถช่วยเหลือผู้เสพติดที่ยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่ยังคงอาศัยอยู่ในชุมชนได้มีโอกาสรับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถนะด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชนเอง


>