กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กไทยอนามัยดี โรงเรียนวัดนาหม่อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ฟันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายและเป็นส่วนประกอบสำคัญของใบหน้าคนเราใช้ฟันสำหรับบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ใช้ในการออกเสียงให้ชัดเจน และช่วยทำให้ใบหน้าของเราดูสวยงาม ดังนั้นเราจึงควรดูแลสุขภาพของฟันและเหงือกให้ดีโดยควรตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากได้ดีที่สุด ดีกว่ารอให้เกิดโรคแล้วจึงทำการรักษาซึ่งจะทำให้เสียทั้งเวลาค่าใช้จ่ายและอาจสูญเสียฟันไปด้วย
เด็กในช่วงวัยเรียนนั้นจะเริ่มมีฟันแท้ขึ้นในช่องปาก ซึ่งในเด็กกลุ่มนี้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองได้แล้วแต่ยังขาดความรู้และความเข้าใจ จึงจะต้องมีผู้ปกครองหรือคุณครูเข้ามาเป็นส่วนร่วมในการดูแล ทั้งนี้เนื่องจากเด็กวัยนี้ชอบกินขนมขบเคี้ยว ลูกอม น้ำอัดลม จึงเป็นสาเหตุทีอาจทำให้เกิดฟันผุได้
อีกโรคหนึ่งคือโรคเหาเป็นโรคที่มักเกิดกับเด็กในวัยเรียนระดับประถมศึกษาและระดับอนุบาล ตัวเหาเป็นแมลงชนิดหนึ่ง การติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสโดยตรง สัมผัสเสื้อผ้า ผ้าปู ที่นอน หมวก ที่แต่งผมและหวี เป็นต้น พบบ่อยในเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง เริ่มแรกเหาจะวางไข่ชิดหนังศีรษะ และเมื่อผมยาวขึ้นไข่เหาจะถูกเลื่อนสูงขึ้นไปด้วย ตัวเหาสามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายมนุษย์ได้นานถึง 4 วันในสภาวะอุณหภูมิห้องปกติ และไข่เหาสามารถอยู่ได้นานถึง 10 วันนอกร่างกายเป็นโรคติดต่อง่าย มักพบว่าเป็นกันทั้งครอบครัวหรือระบาดอยู่ในชุมชนผู้ป่วยจะมีอาการคัน เกิดเป็นตุ่มคัน บริเวณที่ติดเชื้อเหา ซึ่งพบมากที่ศีรษะ แต่อาจพบได้ที่อื่น เช่น บริเวณเครา ในรายที่เป็นมานาน หรือมีอาการรุนแรงจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมที่ผิวหนังและมีต่อมน้ำเหลืองข้างคอและท้ายทอยโต จากการตรวจสุขภาพประจำปีของนักเรียน ร.ร.วัดนาหม่อมทุกปี ตั้งแต่ปี2563 -2566 พบว่า ร้อยละ 80 ของนักเรียนเพศหญิงเป็นโรคเหา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน เห็นว่าปัญหาดังกล่าว ควรได้รับการแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที จึงได้ทำโครงการเด็กไทยอนามัยดี โรงเรียนวัดนาหม่อม ขึ้น เพื่อส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนโดยมีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ เด็กนักเรียน โดยเน้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเป็นหลักสำคัญพร้อมทั้งอธิบายการเลือกรับประทานอาหาร รวมถึงการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมสำหรับวัยต่างๆอีกทั้งยังมีการรณรงค์การเคลือบฟลูออไรด์ให้แก่เด็ก รวมไปถึงทั้งค้นหา ตรวจคัดกรอง และให้ความรู้นักเรียนเรื่องโรคเหาและทำการบำบัดรักษาโรคเหาให้กับนักเรียนที่เป็นเหา เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นให้น้อยลงจนไม่กระทบกับสุขภาพของนักเรียนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียน มีความรู้เรื่อง โรคในช่องปากและการดูแลช่องปากได้อย่างถูกต้อง

1.นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคในช่องปาก และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้

0.00
2 2.เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้นของนักเรียน

2.นักเรียนได้รับการตรวจช่องปากและได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม

0.00
3 3.เพื่อค้นหานักเรียนที่เป็นโรคเหา และทำการบำบัดรักษาโรคเหาแบบหมู่

3.นักเรียนมีความรู้และรับการตรวจโรคเหาและทุกคนที่เป็นโรคได้รับการบำบัด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 12
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 38
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/05/2024

กำหนดเสร็จ 24/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้ทันตศึกษาและดำเนินการตรวจช่องปากในนักเรียน จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้ทันตศึกษาและดำเนินการตรวจช่องปากในนักเรียน จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ60บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน ๓,0๐๐ บาท 2.อาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากรและผู้จัดอบรม  55 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท  =1,375 บาท 3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน ๓ ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน  1800.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2567 ถึง 24 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6175.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเหาและดำเนินการตรวจหาผู้เป็นเหาพร้อมรับการบำบัดรักษา (ผู้รับการอบรม 50 คน ผู้รับการบำบัดโรคเหาตามจำนวนเป้าหมายที่ตรวจพบ)

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเหาและดำเนินการตรวจหาผู้เป็นเหาพร้อมรับการบำบัดรักษา (ผู้รับการอบรม 50 คน ผู้รับการบำบัดโรคเหาตามจำนวนเป้าหมายที่ตรวจพบ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากรและผู้จัดอบรม  55 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท  =1,375 บาท  2. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน  1800.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2567 ถึง 24 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3175.00

กิจกรรมที่ 3 3. ค่าวัสดุอื่นๆ

ชื่อกิจกรรม
3. ค่าวัสดุอื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เวชภัณฑ์ที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรคเหา ขอสนับสนุนจาก รพ.บางแก้ว
  2. ค่าวัสดุในการจัดอบรม(ปากกา สมุดโน้ต ผ้าขนหนู) เป็นเงิน  3,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2567 ถึง 24 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ของนักเรียน ได้รับความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและแปรงฟันถูกวิธี
2. ร้อยละ 100 ของนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
3. นักเรียนได้รับการอบรมเรื่องโรคเหา
4. นักเรียนที่เป็นเหาได้รับการบำบัดรักษา


>