กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพช่องปาก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ผู้สูงอายุนับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ โดยข้อมูลปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 13.03 ล้านคนจากจำนวนประชากรรวม 66.06 ล้านคน โดยคิดเป็นร้อยละ 19.74 ของประชากรรวม(ที่มา:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) และคาดว่า ในปี 256๘ ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society)(ที่มา:กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ) คือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพสุขภาพช่องปากถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพทางด้านร่างกาย อาทิ การสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจิต เป็นต้นดังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุขจิตใจก็ไม่สบายร่างกายก็ไม่แข็งแรง” จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ ๘ ประเทศไทย พ.ศ. 2566 ในกลุ่มอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป พบว่าร้อยละ 56.1 ของผู้สูงอายุ มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้ ๒๐ ซี่ และผู้สูงอายุมีฟันแท้คู่สบ ๔ คู่ ขึ้นไป ร้อยละ 40.2 ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารลดลงชัดเจน แม้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นจะมีจำนวนมากกว่าครึ่ง มีฟันถาวร 20 ซี่ แต่ฟันถาวรที่เหลือนั้นยังมีปัญหารอยโรคและความผิดปกติในช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามที่นำไปสู่ความเจ็บปวดและการสูญเสียฟัน ปัญหาที่สำคัญได้แก่ การสูญเสียฟันโดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปากในผู้สูงอายุ 60-74 ปี พบร้อยละ 8.7 แต่เมื่ออายุ 80-85 ปี เพิ่มสูง ถึงร้อยละ 31.0(ที่มา:การตรวจประเมินสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุในเขตรพ.สต.บ้านเกาะเคียน โดยกลุ่มงานทันตสาธารณสุข รพ.บางแก้ว ปี2566) ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวอย่างมาก และผู้สูงอายุยังขาดความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่การสูญเสียฟันเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการลดการสูญเสียฟัน ให้กลุ่มผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารอย่างเหมาะสมยืดอายุการใช้งาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน ได้จัดทำโครงการผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพช่องปาก เพื่อเป็นการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ ให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ ซึ่งในระยะยาวจะลดการสูญเสียฟันเมื่ออายุเพิ่มขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องโรคในช่องปากและการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง

1.ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องโรคในช่องปากและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ถูกต้อง

0.00
2 2.เพื่อตรวจประเมินสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

2.ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/08/2024

กำหนดเสร็จ 22/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้และดำเนินการตรวจประเมินสุขภาพในช่องปาก ครั้งที่ 1 จำนวน 50 คน (หมู่ที่ 6และหมู่ที่8 ตำบลนาปะขอ)

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้และดำเนินการตรวจประเมินสุขภาพในช่องปาก ครั้งที่ 1 จำนวน 50 คน (หมู่ที่ 6และหมู่ที่8 ตำบลนาปะขอ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรม  จำนวน 55 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,375 บาท   - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน  1,800.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2567 ถึง 21 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3175.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้และดำเนินการตรวจประเมินสุขภาพในช่องปาก ครั้งที่ ๒ จำนวน ๕๐ คน (หมู่ที่ ๑๓ ตำบลนาปะขอ)

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้และดำเนินการตรวจประเมินสุขภาพในช่องปาก ครั้งที่ ๒ จำนวน ๕๐ คน (หมู่ที่ ๑๓ ตำบลนาปะขอ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรม  จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท   - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน  1,800.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2567 ถึง 22 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3050.00

กิจกรรมที่ 3 3. ค่าวัสดุอื่นๆ

ชื่อกิจกรรม
3. ค่าวัสดุอื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุในการจัดอบรม(ปากกา สมุดโน้ต แฟ้มใส่เอกสาร) เป็นเงิน  4,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 สิงหาคม 2567 ถึง 22 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,725.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องโรคและการดูแลสุขภาพช่องปาก
๒.ผู้สูงอายุมีทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างถูกต้อง
๓. ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปากเบื้องต้น


>