กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.นักวิทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะเคียน

1.นางสุพิศแสงจันทร์
2. นางอนงค์ อนุโชติ
3.นายอุดมจินดา
4. นายนรินทร์หนูทิม
5.นางชฎาภรณ์ชูมณี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยา และเครื่องสำอางที่มีความหลากหลายในปัจจุบันสำหรับประชาชน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการดำรงชีวิตและเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของประชาชนโดยตรง แต่มีผลิตภัณฑ์สุขภาพจำนวนไม่น้อยที่ไม่ปลอดภัย ไร้มาตรฐาน และมีสารเคมีปนเปื้อนที่เป็นอันตราย แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันรอบตัวเราไม่น้อย และเป็นปัญหาที่แพร่กระจายในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง กำลังลุกลามผ่านทุกช่องทาง เกินกว่ากำลังเจ้าหน้าที่จะติดตามตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง แม้ที่ผ่านมาจะมีผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังมีผู้บริโภคอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องตกเป็นเหยื่อโฆษณาอวดอ้างเกินจริง บ้างสูญเสียทรัพย์สิน บ้างได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วย บ้างถึงขั้นเสียชีวิต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน มีเขตรับผิดชอบ จำนวน 3 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 6 บ้านนาหม่อมหมู่ที่ 8 บ้านสหกรณ์ และหมู่ที่ 13 บ้านเกาะเคียน ซึ่งการเข้าถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ของประชาชนในพื้นที่นั้น สามารถเข้าถึงโดยง่าย และมีหลายช่องทางด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อโดยตรงจากร้านชําในชุมชนตลาด หรือที่ง่ายกว่านั่นคือการซื้อผ่านอินเทอร์เน็ต แต่การเข้าถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างง่ายเฉกเช่นปัจจุบันนี้ ก็จะยิ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ไร้มาตรฐาน และมีสารเคมีปนเปื้อนที่เป็นอันตรายเข้าถึงประชาชนได้ง่ายยิ่งขึ้นเช่นกัน
จากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงนั้น มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ที่ไม่ปลอดภัย ไร้มาตรฐาน และมีสารเคมีปนเปื้อนที่เป็นอันตรายได้ ชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของประชนในชุมชน จึงมีการสร้างแกนนำของชุมชนให้สามารถเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและยา ภายในชุมชน และประชาชนในความรับผิดชอบ ซึ่งจะมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นแกนนำสำคัญ และมีการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชน โดยจะมีจุดรับและส่งต่อ เครื่องสำอาง ยาแผนโบราณ และผัก เพื่อเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและยาในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและยา

1.อสม. สามารถเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง อาหารและยาได้

0.00
2 2.มีการรายงานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและยา ผ่านเวปตาไว

2.มีศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพและอสม.รายงานการดำเนินงาน ผ่าน เวป ตาไว

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,208
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/04/2024

กำหนดเสร็จ 17/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดประชุมชี้แจงโครงการ อสม

ชื่อกิจกรรม
1.จัดประชุมชี้แจงโครงการ อสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 25บ.x45คน      = 1,125 บ.
  • ค่าป้ายไวนิลความรู้ แบบธงญี่ปุ่นพร้อมโครงเหล็ก 4 ป้าย x 1,450 บ.  = 5,800 บ.
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 แผ่น     = 500 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2567 ถึง 10 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7425.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดประชุมให้ความรู้ เรื่องเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและยา แก่ อสม

ชื่อกิจกรรม
2.จัดประชุมให้ความรู้ เรื่องเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและยา แก่ อสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง25บ.x50คน x2มื้อ =2,500 บ.
  • ค่าอาหารกลางวัน60บ.x50คน x1มื้อ
                                               = 3,000 บ.
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร600บ.x6ชม. = 3,600บ.
  • ค่าวัสดุโครงการ                       = 1,500 บ.
  • ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ (ชุดทดสอบเครื่องสำอางและยาแผนโบราณ)  =3,970 บ.

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2567 ถึง 17 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14570.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,995.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อสม.มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและ ยา
2.อสม.รายงานการดำเนินงาน ผ่าน เวป ตาไว


>