กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมผู้สัมผัสอาหาร ร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตันหยง

กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารตันหยง

1. นางสาวกุสุมาสัสดีกุล
2.นางนูรีซ๊ะ มะ
3.นางสาวปัทมา สมาแฮ
4.นางสาวพารีด๊ะบากา
5.นางสาวฮานี ปาเซเลาะ

เทศบาลตำบลตันหยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อน หรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย อีกทั้ง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตันหยง ได้กำหนดนโยบายให้มีการดำเนินงานในเรื่องอาหารสะอาด ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารพร้อมให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ สนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกัน ให้กับประชาชน เน้นให้ประชาชนเลือกซื้ออาหารและได้บริโภคอาหาร ปลอดภัย และมีคุณค่าอย่างทั่วถึงทุกชุมชน
ทางกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร จัดทำโครงการอบรมผู้สัมผัสอาหาร ร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ปี 2567ขึ้น เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้มีมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและรณรงค์ให้ประชาชนใส่ใจในการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหาร ร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการและมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร
2. เพื่อให้ผู้ปรุงและผู้เสิร์ฟร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารสามารถปฏิบัติการประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
3. เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในอาหาร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 25/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร หลักสูตรมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร หลักสูตรมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมผู้ประกอบการร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร - ค่าวัสดุ อุปกรณ์เครื่องเขียน77 บาท x 60 เป็นเงิน 4,620 บาท -ค่าวัสดุ ผ้ากันเปื้อน 60 ผืน x 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม 35 บาท x2 มื้อ x 60 คน เป็นเงิน 4,200 บาท
-ค่าสัมมนาคุณวิทยากร 6ชั่วโมง x 600บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าอาหารกลางวัน50 บาทx 60 คน เป็นเงิน3,000บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องปรุงต่างๆ เป็นเงิน3,500บาท -ค่าชุดตรวจtest kids สารปนเปื้อนในอาหารเป็นเงิน 5,000 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 29,560 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มิถุนายน 2567 ถึง 11 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับความรู้และทักษะในเรื่องมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29560.00

กิจกรรมที่ 2 ออกตรวจร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ออกตรวจร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกตรวจร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหาร -ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท 5 คน x 5 วัน เป็นเงิน 1,250บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 x 5คน x 2มื้อ x 5วันเป็นเงิน 1,750บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2567 ถึง 19 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจร้านตามแบบประเมิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมติดตามประเมินผล ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x10 คน เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กันยายน 2567 ถึง 13 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละร้านอาหารและแผงลอยได้รับการประเมินและพัฒนา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,060.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ผู้สัมผัสอาหาร ร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหาร มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการและมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร
2. ผู้ปรุงและผู้เสิร์ฟร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารสามารถปฏิบัติการประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
3. ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในอาหาร


>