กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรตำบลศาลาใหม่ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

หมู่ 1 และหมู่ 2 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การประกอบอาชีพเกษตรกรรมถือเป็นกำลังสำคัญที่เป็นรากฐาน ทางเศรษฐกิจของชาติ ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น การดูแลสุขภาพเกษตรกรจึงเป็นงานสำคัญประการหนึ่ง
จากการดำเนินงานโครงการเกษตรกรปลอดโรคปลอดภัยจากสารเคมี ในปีงบประมาณ 2566 มีเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไม่ได้เป็นเกษตรกร) ได้รับคัดกรองประเมินความเสี่ยง (แบบ นบก.1)จำนวน 55 คน จากการคัดกรองฯ พบว่าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่ำ จำนวน 55 คน และไม่พบคนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงจนถึงเสี่ยงสูงมาก และได้รับการตรวจสารโคลีนเอสเตอเรสโดยใช้กระดาษ Reactive paper ทุกคนๆละ 2 ครั้ง โดยผลครั้งที่ 1 มีผลปลอดภัย ร้อยละ 36.36 และโดยผลตรวจครั้งที่ 2 มีผลปลอดภัยมากขึ้น ร้อยละ 50.90 และจากการสำรวจกลุ่มเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไม่ได้เป็นเกษตรกร) บางส่วนยังใช้และสัมผัสกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สารกำจัดศัตรูพืชในกระบวนการเตรียมพื้นที่การเกษตรก่อนการเพาะปลูกถึงแม้ว่าจะไม่มีการใช้กับพืชโดยตรงแต่อาจพบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างหลังจากเก็บผลผลิตทางการเกษตรได้ จึงมีความจำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพของเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้มีการจัดบริการเฝ้าระวังสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงเชิงรุกแก่เกษตรกร
  1. กลุ่มเกษตรกรทั่วไป/กลุ่มที่ใช้หรือสัมผัสสารเคมีกำจัดพืช/กลุ่มเกษตรกรได้รับการคัดกรองจากแบบสัมภาษณ์ นบก.1 ทุกคน ร้อยละ 100
  2. กลุ่มเกษตรกรทั่วไป/กลุ่มที่ใช้หรือสัมผัสสารเคมีกำจัดพืช/กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการคัดกรองจากแบบสัมภาษณ์ นบก.1แล้วผลมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงถึงเสี่ยงสูงมากได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองสารโคลีนเอสเตอเรสโดยใช้กระดาษ Reactive paper อย่างน้อย 1 ครั้ง ร้อยละ 100
1.00
2 2. เพื่อให้เกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชมีความรู้ และความตระหนักในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  1. ไม่พบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกในพื้นที่ตำบลศาลาใหม่ จากการสุ่มตรวจตามแผงที่วางขายทั้งในและนอกพื้นที่
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 25.-บาท เป็นเงิน 1,250.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70.-บาท เป็นเงิน  3,500.-บาท รววเป็นเงิน 4,750.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได่รับความรู้ และสามารถค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

กิจกรรมที่ 2 2. จัดกิจกรรมการเจาะเลือดตรวจคัดกรอง Cholinesterase

ชื่อกิจกรรม
2. จัดกิจกรรมการเจาะเลือดตรวจคัดกรอง Cholinesterase
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดตรวจ Cholinesterase กระดาษ Reactive paper จำนวน 1 ชุดๆละ 800.-บาท เป็นเงิน 800.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค้นหาเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง และสามารถระบุระดับความเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2. เกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชหลีกเลี่ยงการใช้หรือลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช


>