กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนโรงเรียนพระราชดำริ ตำบลศาลาใหม่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่

โรงเรียนบ้านศาลาใหม่ และโรงเรียนจรรยาอิสลาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการโครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา โดยดำเนินการในโรงเรียน มีกิจกรรมหลักคือ การจ่ายยาถ่ายพยาธิในเด็กนักเรียน การตรวจอุจจาระในเด็กนักเรียนเพื่อค้นหาอัตราความชุกของโรคพยาธิ และการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน ประกอบกับโรคพยาธิจะส่งผลการเจริญเติบโตของเด็ก ภาวะโภชนาการอาจต่ำกว่าเกณฑ์ ส่งผลถึงประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนในระยะยาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ได้รับสนับสนุนโครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนโรงเรียนพระราชดำริ ต.ศาลาใหม่ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ศาลาใหม่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2559-2563 ได้ตรวจค้นหาไข่พยาธิในอุจจาระเด็กนักเรียน ทั้ง 2 โรงเรียน (โรงเรียนบ้านศาลาใหม่และโรงเรียนจรรยาอิสลาม) พบอัตราความชุกของโรคพยาธิ ร้อยละ 10.71, 6.05, 6.06, 7.29, 2.72ตามลำดับ ปี 2564 งดกิจกรรมตรวจคัดกรองเฝ้าระวังเนื่องจากโรงเรียนปิดจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19) ในปี 2565 ส่งตรวจ จำนวน 1,107 คน คิดเป็นร้อยละ 80.86 ของเด็กนักเรียนทั้งหมด พบไข่พยาธิ จำนวน 54 คน คิดเป็นอัตราความชุกของโรคพยาธิ ร้อยละ 4.88 และจากการดำเนินงานในปี 2566 ส่งตรวจจำนวน 858 คน คิดเป็นร้อยละ 61.86 ของเด็กนักเรียนทั้งหมด พบไข่พยาธิ จำนวน 35 คน คิดเป็นอัตราความชุกของโรคพยาธิ ร้อยละ 4.08 โดยพบตามชนิดดังนี้ พบพยาธิไส้เดือน จำนวน 6 คน ร้อยละ 17.14 พบพยาธิแส้ม้า จำนวน 23 คน ร้อยละ 65.21 และพบมากกว่า 2 ชนิด (ไส้เดือน+แส้ม้า) จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 17.14 จะเห็นได้ว่าอัตราความชุกของโรคพยาธิลดลง และจากการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนบ้านศาลาใหม่ ปีการศึกษา 2566 มีการสุ่มนักเรียนทั้ง 2 โรงเรียน (โรงเรียนบ้านศาลาใหม่และโรงเรียนจรรยาอิสลาม) จำนวน 213 คน เพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจาง (ระดับความเข้มข้นของโลหิตฮีมาโตคริต%) พบว่านักเรียนมีระดับความเข้มข้นของโลหิตระดับปกติ จำนวน 125 ร้อยละ 58.68 และพบในพบภาวะซีด ระดับ 1 (ฮีมาโตคริต35-27 %) จำนวน 88 คน ร้อยละ 41.31 (ลดลงจากปี 2565 ที่พบภาวะซีดระดับ 1 จำนวน 166 ร้อยละ 74.77) จะเห็นได้ว่า อัตราความชุกของโรคพยาธิ ลดลงทุกปี และต่ำกว่าตัวชี้วัดโครงการไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้เพื่อให้ไม่พบอัตราความชุกของโรคพยาธิเท่ากับศูนย์หรือไม่พบโรคพยาธิในเด็กนักเรียน ซึ่งโรคพยาธิในเด็กนักเรียนจะส่งผลกระทบต่อปัญหาภาวะซีดและภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียนรวมไปถึงส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ในเด็กนักเรียนต่อไป และเป็นการสนองตามโครงการพระราชดำริฯ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียน
  1. อัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียนไม่เกินร้อยละ 10
  2. เด็กนักเรียนที่ส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเด็กนักเรียนทั้งหมด
1.00
2 2. เพื่อดำเนินงานแก้ไขปัญหาภาวะซีด และปัญหาโรคพยาธิในเด็กนักเรียน
  1. เด็กนักเรียนที่ตรวจพบพยาธิได้รับยาถ่ายพยาธิเพื่อรักษาตามชนิดของพยาธิ ร้อยละ 100
  2. เด็กนักเรียนที่สุ่มตรวจภาวะซีดพบภาวะซีดลดลงจากปี 2566
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 800
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์สุ่มตรวจเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ (อุจจาระ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์สุ่มตรวจเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ (อุจจาระ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างเหมาจัดเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจากกลุ่มเด็กนักเรียน (อุจจาระ) จำนวน 800 คนๆละ 15.- บาท เป็นเงิน 12,000.-บาทบาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เก็บรวบรวมตัวอยางอุจาระของนักเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจหาไข่พยาธิ

ชื่อกิจกรรม
เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจหาไข่พยาธิ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างเหมาตรวจตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจากกลุ่มเด็กนักเรียน (อุจจาระ) จำนวน 800 คนๆละ 25.- บาท เป็นเงิน 20,000.-บาทบาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค้นหาไข่พยาธิจากตัวอย่างอุจาระ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียนลดลง
2. เด็กนักเรียนทุกคนในโรงเรียนพระราชดำริ ได้รับการตรวจหาไข่พยาธิและได้กินยาถ่ายพยาธิทุกคน
3. เด็กนักเรียนที่พบภาวะซีดมีจำนวนลดลง


>