กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก รหัส กปท. L7889

อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเชิงบูรณาการโดยใช้สวนสนุกสามวัยเป็นฐาน ปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลตำบลปริก
กลุ่มคน
นายชาญณรงค์เพ็ชรจูดประธานคณะกรรมการฝ่ายดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการเทศบาลตำบลปริก
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ผู้สูงอายุ คือ ปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน อีกทั้งยังเป็นผู้มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย ซึ่งผู้สูงอายุมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้แก่ประชากรต่างรุ่น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังที่มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยทำงาน จะต้องให้ความสำคัญในการยกย่อง ให้การดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพจิต สุขภาพกายที่ดี และช่วยประคับประคองในวัยที่ผู้สูงอายุมีความเสื่อมถอยทางด้านร่างกาย เป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ปัจจุบันเทศบาลตำบลปริก มีผู้สูงอายุ 1,0๗๐ คน จากประชากรทั้งหมด 6,4๓๖ คน คิดเป็นร้อยละ 16.๖๓ ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗) ซึ่งกล่าวได้ว่า เทศบาลตำบลปริก เป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) สังคมที่มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน มีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ ๑๐ ขึ้นไป(นิยามจาก United Nations World Population Ageing)

เทศบาลตำบลปริก มีพื้นที่สาธารณะ (Open Space) สำหรับให้คนทุกกลุ่มวัย ใช้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาตนเอง ทั้ง ๕ มิติ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ปัญญา และสิ่งแวดล้อม พื้นที่ดังกล่าว คือ สวนสนุกสามวัย (ใจเดียวกัน) มีฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ และเป็นนวัตกรรมในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัย ได้แก่ ฐานที่ ๑ ลานปิยะมิตรอหิงสา ฐานที่ ๒ ศาลาสร้างสุข ฐานที่ ๓ สระเล่นนำเด็ก ฐานที่ ๔ ค่ายกลสไปเดอรแมน ฐานที่ ๕ ย่ำแดนยั่วประสาท ฐานที่ ๖ ยืดยาดขยับกาย สบายชีวี ฐานที่ ๗ วารีบำบัด และมีสวนสมุนไพร 1 อปท. 1 สวนสมุนไพร ที่สอดรับกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และการใช้สมุนไพรให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันในแง่ของการแปรรูปเป็นอาหารและการใช้บำบัดอาการเจ็บป่วย พื้นที่เหล่านี้ วัยเด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุสามารถใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบ เพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี ส่งเสริมการร่วมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ สอดคล้องกับมติที่ประชุม “เวทีประชาคมเพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม” ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ที่เสนอให้มีการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ โดยการบูรณาการฐานต่าง ๆ ของสวนสนุกสามวัยมาใช้ในการออกแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลาย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Wellness Plan)เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุและคนทุกกลุ่มวัย เพื่อให้ผู้สูงอายุและบุคคลทุกกลุ่มวัยได้เข้าถึง ทำความเข้าใจข้อมูลสุขภาพ กลั่นกรอง ประเมิน และตัดสินใจ เพื่อการนำข้อมูลไปใช้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างเหมาะสม โดยได้กำหนดแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว รายบุคคลไว้ 6 ประเด็น ได้แก่ ด้านโภชนาการ ด้านการเคลื่อนไหว ด้านสุขภาพช่องปาก ด้านสมองและการนอนหลับ ด้านความสุข (ภาวะซึมเศร้า) และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งแผนส่งเสริมสุขภาพทั้ง 6 ประเด็นนี้ผุ้สูงอายุที่มีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ เป็นโรคเรื้อรัง หรือเป็นกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ไม่สามารถที่จะดูแลตนเองได้เต็มที่ จะต้องพึ่งพาอาศัยสมาชิกในครอบครัว ที่มีทั้งวัยเด็ก เยาวชน และวัยทำงานในการการดูแลและประคับประคอง ในการนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีตามแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Wellness Plan) ร่วมกับการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะ “สวนสนุกสามวัย (ใจเดียวกัน)” ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลตำบลปริก จึงกำหนดจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเชิงบูรณาการโดยใช้สวนสนุกสามวัย ปีงบประมาณ 256๗ ขึ้น โดยในปีงบประมาณที่ผ่านได้มีการนำร่องนำใช้แนวทางของแผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวายืนยาว (Wellness Plan) มาปรับใช้กับกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุแล้ว สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ได้มีการนำแผนสุขภาพดังกล่าวมาปรับใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลสุขภาพที่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลปริก ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี ลดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคต่าง ๆ และมีสุขภาพกายและจิตที่ดีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
    ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและคุณภาพชีวิตที่ดี
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ
    ตัวชี้วัด : วัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนวัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตร่วมกัน
    ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายวัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 90
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ฟื้นฟูความรู้ 6 ด้าน ตามแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Wellness Plan) -กลุ่มเป้าหมาย70 คน (ผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง CG อสม. จิตอาสา สภาเด็กและเยาวชน)
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ 25 บาท x 70 คน
      เป็นเงิน3,500บาท

    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ 70 บาท x 70 คน
      เป็นเงิน4,900บาท

    • ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600บาท

    • ค่าวัสดุที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรม เช่น ป้ายไวนิลโครงการ คู่มือการอบรมวัสดุสำนักงาน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอบรม
      เป็นเงิน 3,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 15,000 บาท

    งบประมาณ 15,000.00 บาท
  • 2. ส่งเสริมการออกกำลังกายและนันทนาการส่งเสริมสุขภาพจิต-กลุ่มเป้าหมาย 150 คน (กลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 วัย)
    รายละเอียด
    • อาหารว่าง 150 คน x 25 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,500 บาท

    • ค่าอาหารกลางวัน 150 คน x 70 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท

    • ค่าวิทยากรบรรยายให้ความรู้ 2 ชม.x 600 บาท
      เป็นเงิน 1,200 บาท

    • ค่าวิทยากรสอนการออกกำลังกาย 2 ชม. x 300 บาท x 4 คน เป็นเงิน2,400บาท

    • สมุดบันทึกสุขภาพ 150 เล่มx 30 บาท
      เป็นเงิน4,500บาท

    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
      เป็นเงิน 1,900 บาท

    รวมเป็นเงิน28,000 บาท

    งบประมาณ 28,000.00 บาท
  • 3. การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้สมุนไพร -กลุ่มเป้าหมาย 150 คน (กลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 วัย)
    รายละเอียด
    • อาหารว่าง 150 คน x 25 บาท x 2 ครั้ง
      เป็นเงิน 7,500 บาท

    • ค่าอาหารกลางวัน 150  คน x 70 บาท
      เป็นเงิน 10,500 บาท

    • ค่าวิทยากรบรรยายให้ความรู้ 3 ชม.x 600 บาท
      เป็นเงิน 1,800 บาท

    • ค่าวิทยากรผู้ช่วยสาธิตการทำสมุนไพร 3 ชม. x 300 บาท x 3 คน เป็นเงิน  2,700  บาท

    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ที่เกี่ยวสำหรับทำสมุนไพรแช่เท้า ฟอกเข่า ยาดม สมุนไพร
      เป็นเงิน 3,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 25,500 บาท

    งบประมาณ 25,500.00 บาท
  • 4. สรุปจัดทำรูปเล่มและรายงานผล
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 500.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

สวนสนุกสามวัย(ใจเดียวกัน) เทศบาลตำบลปริก

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 69,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้สูงอายุทุกชุมชนมีการวมกลุ่มในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง

    1. ประชาชนวัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุมีการพึ่งพาอาศัยกันในกสนส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต
  2. สมาชิกในครบครัวทุกช่วงวัยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคูภาพชีวิตผู้สูงอายุ

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก รหัส กปท. L7889

อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก รหัส กปท. L7889

อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 69,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................