กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาเครือข่ายดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนตำบลศาลาใหม่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่

ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน ถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ อย่างยั่งยืน โดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากความพิการส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ ผู้พิการไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม มีผลต่อคุณภาพชีวิตที่ลดลงรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล ผู้พิการบางรายมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถประกอบอาชีพได้ มีการสื่อสารได้ดี อีกทั้งยังมีความรู้ในสิทธิที่ผู้พิการพึงได้รับ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นนอกเหนือจากการช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงสามารถดูแลสภาพจิตใจของผู้ดูแลได้
จากการดำเนินงานยาเสพติดและจิตเวช ในปี 2566 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ และ รพ.ตากใบ และเครือข่ายสุขภาพระดับชุมชน พบว่ามีผู้ป่วยทางจิตเวชทั้งหมด 69 คน โดยเป็นผู้ป่วยรายเก่า ที่ขึ้นทะเบียนผู้พิการแล้วทั้งหมดร้อยละ 100พบเป็นผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการเฝ้าระวังรักษาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 59 คน และพบเป็นผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรักษา รักษาไม่ต่อเนื่อง จำนวน 5 คน และพบผู้ป่วยจิตเวชมีอาการหูแว่วภาพหลอน อาการอาละวาด จากการใช้ยาเสพติด มีการใช้ยาเสพติดซ้ำ เป็นผู้ป่วยวิกฤตที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ จำนวน 5 คน และยังพบอีกว่าความรู้ ความเข้าใจ และสภาพจิตใจขอผู้ป่วยจิตเวชและผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลและความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่จึงมีความตระหนักและได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ดูแลผู้พิการทางจิต/ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช
  1. ไม่พบภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแล
  2. ไม่พบผู้ดูแลป่วยเป็นโรคจิตเวช
1.00
2 2. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชตามแนวทางมาตรฐานได้โดยบูรณาการจากทุกหน่วยงาน
  1. มีทีมเครือข่ายดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนระดับตำบล จำนวน 1 ทีม
  2. ผู้ป่วยจิตเวชทั้งรายใหม่และเก่าได้รับการติดตามรักษาอย่างต่อเนื่อง
  3. ไม่พบผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการอาละวาดในพื้นที่ตำบลศาลาใหม่
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 40
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ทีมเครือข่ายดูแลผู้ป่วยจิตเวช

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ทีมเครือข่ายดูแลผู้ป่วยจิตเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25.- บาท
    เป็นเงิน 2,000.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 70.- บาท เป็นเงิน 2,800.-บาท
  • ค่าวิทยากร 2 คนๆ 6 ชม.ๆละ 500.-บาท
    เป็นเงิน 6,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชมีสภาพจิตใจที่ปกติดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. ฝ่ายปกครอง และฝ่ายสาธารณสุข ระดับตำบลร่วมกันมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนตามแนวทางมาตรฐาน


>