กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมการจัดการสิ่งแวดล้อมตำบลศาลาใหม่ ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศาลาใหม่

กลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกตำบลศาลาใหม่

ตำบลศาลาใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาขยะเป็นปัญหาระดับชาติ ซึ่งขยะเกิดจากครัวเรือน สถานประกอบการต่างๆ หากไม่มีการกำจัดอย่างถูกวิธีหรือไม่ลดการใช้ ไม่ใช้ซ้ำหรือคัดแยกขยะแล้ว จะลดปริมาณขยะไม่ได้ ซึ่งปัญหาขยะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ทำให้เป็นโรคภัยต่างๆกลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกตำบลศาลาใหม่เห็นว่าการที่ทำให้ปริมาณขยะลดลงและการดูแลสิ่งแวดล้อมต่างๆ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะมีอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) จะเป็นแกนนำในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีหน้าที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม เฝ้าระวัง ดูแล เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนัก ด้านการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ทำหน้าที่การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดขึ้น และให้ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการภาคเอกชน ในการดำเนินการเกี่ยวกับการบริการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม
กลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกตำบลศาลาใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการฝึกอบรมการจัดการสิ่งแวดล้อมตำบลศาลาใหม่ ขึ้น เพื่อให้สมาชิกกลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกตำบลศาลาใหม่ ประชาชนและชุมชนได้รับการส่งเสริมการดำเนินการจัดการขยะตามหลัก 3 Rs ได้แก่ การลดการใช้(Reduce) การใช้ซ้ำ(Reuse)และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกตำบลศาลาใหม่ ประชาชนและชุมชน ได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็น ในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะและเป็นการลดปริมาณขยะ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ให้สมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก(อถล.)ประพฤติเป็นแบบอย่างในการจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะมูลฝอย และการปกป้องสิ่งแวดล้อม

1.ในหมู่บ้านมีแกนนำ(อถล.) เป็นแบบอย่างในการจัดการสิ่งแวดล้อม

1.00
2 2.เพื่อให้สมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก(อถล.) สร้างจิตสำนึกด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

2.สมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.)มีจิตสำนึกด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและมูลฝอย

1.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริม และอนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม

3.ประชาชนช่วยกันอนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม

1.00
4 4. เพื่อให้สมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.)มีส่วนร่วมในการจัดการขยะและดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
  1. สมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) มีส่วนร่วมในการจัดการขยะและดูแลสิ่งแวดล้อม
1.00
5 5. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในหมู่บ้านรักษาความสะอาดและจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง

5.ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดและจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง

1.00
6 6. เกิดการรวมกลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นโลก (อถล.) ในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน

6.ในชุมชนเกิดการรวมกลุ่มจัดการขยะมูลฝอย

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 2*4 เมตร เป็นเงิน 2,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน  80 คน  เป็นเงิน  4,000  บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน  5,600  บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000.-บาท
  • ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรม  เป็นเงิน  5,200  บาท      1.สมุดจดบันทึก  จำนวน 20 บาท X 80 เล่ม เป็นเงิน 1,600.- บาท      2.ปากกา จำนวน 10 บาท X 80 เล่ม เป็นเงิน 800.- บาท      3.กระเป๋าผ้า จำนวน 35 บาท X 80 เล่ม เป็นเงิน 2,800.- บาท รวมเป็นเงิน 19,800.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกได้รับความรู้ด้านการจัดการขยะ และสามารถเป็นแกนนำในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19800.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายประชาสัมพันธ์การจัดการขยะที่ถูกต้อง  ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 8 ป้าย เป็นเงิน 6,000.-บาท รวมเป็นเงิน  6,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนทั่วไปได้รับรู้จากป้ายประชาสัมพันธ์ถึงการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ประชาชนในชุมชนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะมูลฝอย และการปกป้องสิ่งแวดล้อม
2. มีแกนนำด้านการรักษาความสะอาดเกิดขึ้นในชุมชน
3. ประชาชนมีจิตสำนึก รักความสะอาด และพร้อมจะอนุรักษ์ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
4. มีชุมชนต้นแบบด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง


>