กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลผู้ป่วยเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสากอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสากอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานเกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ ทำให้การงอกของกระดูกเวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่น ๆ กำเริบ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังไม่ได้ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า บวม เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป สาเหตุมีได้หลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมาก ๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนัก ที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะ ที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีการอักเสบติดเชื้อ หรือเป็นโรคไขข้อบางชนิด เช่น โรครูมาตอยด์ เป็นต้น จากสถานการณ์พบว่า โรคข้อเข่าเสื่อม และข้อติดเป็นโรคหนึ่งในสิบโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญ อันก่อให้เกิดผู้สูงอายุทุพพลภาพในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยต้องมีชีวิตอยู่อย่างไร้สมรรถภาพในการประกอบอาชีพหรือการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีพยาธิสภาพที่กระดูกอ่อนผิวข้อ อันก่อให้มีอาการปวดจากผิวข้อชำรุดและการอักเสบหากเป็นต่อเนื่อง ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมรุนแรง ช่องว่างผิวข้อหายไป และกระดูกอ่อนผิวข้อชำรุดไปหมด หรือกระดูกปลายข้อทรุดตัว ทำให้เข่าโก่งมากขึ้นได้
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสากอ จึงได้ทำโครงการดูแลผู้ป่วยเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ซึ่งมีการนำสมุนไพรไทยที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชน และมีสรรพคุณในการลดอาการปวด และการอักเสบมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่า โดยจะเลือกเป็นวิธีการพอกเข่า และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรไทยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดการพึ่งพาการใช้ยาแผนปัจจุบัน รวมทั้งการให้ความรู้ในการบริหารข้อนิ้วติด ในผู้สูงอายุ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาของโรคและการปฏิบัติตัว เมื่ออาการปวดเข่ากำเริบ 2.เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมและผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า 3.เพื่อส่งเสริมการนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการดูแลตนเอง

1.เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาของโรคและการปฏิบัติตัว เมื่ออาการปวดเข่ากำเริบ 2.เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมและผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า 3.เพื่อส่งเสริมการนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการดูแลตนเอง

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 01/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการดูแลผู้ป่วยเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
โครงการดูแลผู้ป่วยเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสากอ จำนวน 30,350.00 บาท  (สามหมื่นสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน) มีรายละเอียดดังนี้     1. ค่าไวนิล ขนาด 3 เมตร X 1 เมตร จำนวน 1 ชิ้น              เป็นเงิน    900.00 บาท
    2. ค่าคู่มือการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม จำนวน 60 เล่มๆละ 20 บาท    เป็นเงิน 1,200.00 บาท     3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท    เป็นเงิน 3,000.00 บาท     4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท        เป็นเงิน 3,000.00 บาท     5. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน 2 รุ่น ๆ 6 ชม. ๆละ 300 บาท    เป็นเงิน 3,600.00 บาท
    6. ค่าวัสดุพอกเข่า 10,250 บาท         6.1. ดองดึงผง จำนวน 4 กก.ๆ 678 บาท              เป็นเงิน 2,712.00 บาท         6.2. ขิงผง จำนวน 4 กก.ๆละ 132 บาท              เป็นเงิน    528.00 บาท         6.3. ผักเสี้ยนผีผง จำนวน 7 กก.ๆละ 160 บาท          เป็นเงิน 1,120.00 บาท         6.4. แป้งข้าวจ้าว จำนวน 11 กก.ๆละ 60 บาท            เป็นเงิน    660.00 บาท         6.5. น้ำมันไพลสกัด จำนวน 5 ลิตร ๆละ 720 บาท    เป็นเงิน 3,600.00 บาท         6.6. การบูร จำนวน 1 กก.ๆละ 560 บาท              เป็นเงิน    560.00 บาท         6.7. เมนทอล จำนวน 1 กก.ๆละ 1,070 บาท            เป็นเงิน 1,070.00 บาท     7. ค่าวัสดุ บริหารข้อนิ้ว จำนวน 60 ชิ้นๆละ 140 บาท          เป็นเงิน 8,400.00 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,350.00 บาท (สามหมื่นสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 1 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

7.1 ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจถึงอาการและสาเหตุของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม 7.1 กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีอาการปวดเข่ามีอาการปวดเข่า ปวดข้อ ลดลง 7.2 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่าได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

7.1 ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจถึงอาการและสาเหตุของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
7.1 กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีอาการปวดเข่ามีอาการปวดเข่า ปวดข้อ ลดลง
7.2 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่าได้


>