กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านชำสีขาว แผงลอย และตลาดนัด มาตรฐานปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง

ตำบลวัดขวาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในชุมชน ถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้น และยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่น ยาผสมสารสเตียร์รอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้ประกอบการ ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยสูง รวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหาร จากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุง การประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือน ในปัจจุบันมีการจัดตั้งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชนสะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งครัวเรือนหรือการจัดเลี้ยงอาหารในรูปแบบต่างๆมากมาย ดังนั้นการควบคุม ดูแลให้การประกอบกิจการจัดบริการอาหารโดยสถานประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสมเน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภคจึงเป็นงานที่สำคัญต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้เหมาะสมเน้นความสะอาดและปลอดภัยผู้บริโภคจึงเป็นงานที่สำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการด้านอาหารประเภท ร้านอาหาร แผงลอย จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จะต้องดำเนินการงานสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพจัดทำโครงการร้านชำสีขาว แผงลอย และตลาดนัด มาตรฐานปลอดภัย ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลงจากการบริโภคยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำคุ้มครองผู้บริโภค

แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และสามารถแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แก่ประชาชนและผู้ประกอบการได้

0.00
2 เพื่อประเมินคุณภาพร้านค้าแผงลอยจำหน่ายอาหาร/ร้านชำ

ร้านชำ ร้านแผงร้อยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟูความรู้ ทักษะแก่แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูความรู้ ทักษะแก่แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน มื้อ จำนวน  40  คน คนละ 60 บาท จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 2,400  บาท
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม  2 มื้อ จำนวน 40 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร  ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวัสดุ ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และสามารถแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แก่ประชาชนและผู้ประกอบการได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6560.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจแนะนำแผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านชำ และตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ตรวจแนะนำแผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านชำ และตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร   เป็นเงิน 5,620  บาท *ชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร ตรวจ 50 ตัวอย่าง ชุดละ 220  บาท จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 220 บาท *ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิคในอาหาร ตรวจ 50 อย่าง ชุดละ 250 บาท จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 250 บาท *ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดซัลไฟต์ ตรวจ 100  ตัวอย่าง ชุดละ 150 บาท จำนวน 1  ชุด เป็นเงิน 150 บาท *ชุดทดสอบฟอร์มาลิน ตรวจ 1 ตัวอย่าง ชุดละ 50 บาท จำนวน 5 ชุด เป็นเงิน 250  บาท *ชุดทดสอบยาฆ่าแมลงแบบ OC  KIT  10   ตัวอย่าง  ชุดละ 1,250  บาท จำนวน  1  ชุด เป็นเงิน 1,250 บาท *น้ำยาตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร(SI2) ตรวจ 1 ตัวอย่าง ขวดละ 35 บาท จำนวน 120  ขวด เป็นเงิน  4,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และสามารถแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แก่ประชาชนและผู้ประกอบการได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6320.00

กิจกรรมที่ 3 คืนผลการตรวจร้านชำและสารปนเปื้อนในอาหารและมอบป้ายมาตรฐานร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
คืนผลการตรวจร้านชำและสารปนเปื้อนในอาหารและมอบป้ายมาตรฐานร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ ป้ายรับรองมาตรฐานร้านชำ  จำนวน 8 ป้าย ป้ายละ 100 บาท เป็นเงิน 800  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านชำ ร้านแผงร้อยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,680.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และสามารถแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แก่ประชาชนและผู้ประกอบการได้
2.ร้านชำ ร้านแผงร้อยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน


>